แหล่งรวมข้อมูลและองค์ความรู้เกี่ยวกับ ศาสนาอิสลาม และ การวางแผนการแต่งงาน การวางแผนครอบครัวพหุวัฒนธรรม การเตรียมตัว และจัดหาเครื่องมือ บุคลากร สถานที่หรืออื่นๆที่จำเป็นเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตครอบครัวทั้งที่เป็นมุสลิมด้วยกันและต่างศาสนาได้อย่างเข็มแข็งและมั่นคง
หัวข้อยอดนิยม
เจ้าสาวพุทธ แต่งกับอิสลามต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างคะ?
การแต่งงานกับ คู่รักที่มีที่มาจากครอบครัวต่างศาสนา อาจทำให้เกิดความกังวลใจบ้าง ทั้งเรื่อง ความกังวลใจว่า ครอบครัวทั้งสองฝ่ายจะเข้ากันได้ไหม? ตัวเราเองจะปรับตัวได้มากน้อยแค่ไหน? และเมื่อว่าที่เจ้าสาวตัดสินใจจริงๆว่าจะแต่งงานกับว่าที่เจ้าบ่าวที่เป็นมุสลิม เราซึ่งเดิมเป็นคนศาสนาพุทธต้องเตรียมตัวอย่างไร วันนี้ ทีมงาน Araya ซึ่งเป็นทีม Nikah Planner จะมาให้คำตอบเรื่องนี้กันครับ
ขั้นตอนการเตรียมตัว เมื่อเจ้าสาวพุทธ ต้องแต่งกับมุสลิม
- เตรียมความพร้อมตั้งแต่คบหาดูใจ เพื่อเข้าใจในความแตกต่างทางศาสนา
- ทำความเข้าใจ การขั้นตอนการนิกะห์ หรือการแต่งงานอิสลาม
- วางแผน การเรียนรู้และการเข้ารับอิสลาม
- หมั่นสื่อสาร พูดคุยกับคนในครอบครัว
- วางแผนงานนิกะห์ อย่างเป็นระบบ
1.เตรียมความพร้อม ตั้งแต่คบหาดูใจ เข้าใจความแตกต่างทางศาสนา
การเตรียมความพร้อม ในเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญเรียกได้ว่า อันดับต้นๆของการเตรียมงานแต่งงานอิสลาม หรืองานนิกะห์เลยก็ว่าได้ครับ การนิกะห์ ไม่ใช่เพียงกระบวนการหรือพิธีทางศาสนาเท่านั้น แต่เป็นจุดเริ่มต้นชีวิตคู่หรือ ชีวิตครอบครัวหลังจากนี้ ซึ่งทั้งเจ้าบ่าว และเจ้าสาวต้องร่วมทุกข์ร่วมสุขกันใน “กรอบชีวิตที่ต่างออกไป” ไม่มากก็น้อย มีบางอย่างที่ ต้องปรับเข้าหากัน และมีบางอย่างต้องเพิ่มเติมเพื่อให้ชีวิตคู่สมบูรณ์
ในกรณีเจ้าสาว แต่งเข้าอิสลาม เจ้าบ่าวต้องดูแลให้ดีมากเป็นพิเศษ เพราะ เป็นทั้งทางตัวว่าที่เจ้าสาวและ ครอบครัวว่าที่เจ้าสาวต้องปรับตัวอย่างมาก การเปลี่ยนศาสนา หรือ การที่ลูกสาวเปลี่ยนศาสนาเป็นเรื่องใหญ่นะครับ ต้องให้ความสำคัญ เข้าใจ และให้กำลังใจ ดังนั้นเมื่อรับเข้ามาแล้วต้องดูแลเค้าให้ดี สิ่งที่มักจะทำผิดพลาดกันคือ ฝ่ายมุสลิมมักจะเร่งร้อนในการพยายามเปลี่ยนให้ เจ้าสาวกลายเป็นอีกคนที่ไม่ใช่คนเดิม เพื่อให้เข้ากับทางบ้านของตัวเองได้ อันนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้การนิกะห์เกิดปัญหาตามมาอีกมากมาย ในขั้นตอนนี้ หน้าที่ของเจ้าบ่าวคือ การเข้าใจ ให้กำลังใจและ ปรับตัวไปพร้อมๆกัน เป็นทางออกที่สำคัญมากๆครับผม
ในส่วนของเจ้าสาวในขั้นตอนนี้ต้องเปิดใจเรียนรู้ และทำความเข้าใจ วัฒนธรรมอิสลาม – สังคมอิสลาม ในกรอบของตัวเจ้าบ่าว ครอบครัวเจ้าบ่าว และ สังคมมุสลิมรอบตัวครับ การเปิดใจเรียนรู้ สิ่งเหล่านี้จะทำให้เราปรับตัวง่ายขึ้นมาก และจะทำให้เราเข้าใจว่าจริงๆแล้วสังคมอิสลามไทยนั้นก็เหมือนกับสังคมทั่วๆไปคือ มีทั้ง สังคมส่วนที่ไม่น่ารัก และสังคมส่วนที่น่ารัก และถ้าเจ้าบ่าว ยังอยู่ใน”สังคมที่น่ารัก”อยู่ ก็ต้องเดินหน้ากันต่อไปนั่นเอง
ใครยังติดปัญหาในส่วนนี้ อาจจะลอง อ่าน HOW TO 8 ขั้นตอน คบหาดูใจ กับ คู่รักต่างศาสนา เพิ่มเติมดู ผมเชื่อว่าจะมีเครื่องมือบางอย่างที่จัดการเรื่องนี้ให้เข้าที่เข้าทางอย่างแน่นอนครับ

2.ทำความเข้าใจขั้นตอนนิกะห์ หรือขั้นตอนการแต่งงานอิสลามสำหรับเจ้าสาวพุทธ
เมื่อว่าที่เจ้าสาวผ่านด่านแรกได้แล้ว สิ่งถัดมาคือ ต้องทำความเข้าใจในเบื้องต้นว่า ขั้นตอนการนิกะห์ หรือ เจ้าการแต่งงานอิสลามที่ว่าเนี่ยะ หน้าตาหรือ ขั้นตอนเบื้องต้นเป็นอย่างไร เพื่อให้เข้าใจภาพรวมว่า มันมีหรือไม่มีอะไรบ้างในพิธีทางศาสนานี้ อย่างไรก็ดี ขั้นตอนนิกะห์ในประเทศไทยนั้น มีรายละเอียดแตกต่างกันเล็กน้อย ถึงปานกลาง ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมท้องถิ่นนั้นๆด้วยครับผม แต่จะมีแก่นหลักๆเหมือนกัน สามารถอ่าน รายละเอียดในส่วนนี้ได้ที่นี่นะครับ นิกะห์ คืออะไร? และทำอย่างไร? ฉบับเข้าใจง่าย
ทีนี้จะมีประเด็นถัดมาเรื่อง คุณย่าอยากให้ยกน้ำชา เจ้าสาวอยากตัดเค้ก ทำพิธีสงฆ์ ได้ไหม? ขันหมากจัดได้แค่ไหน? รายละเอียดในส่วนนี้จะเป็นประเด็นที่ค่อนข้างซับซ้อนและไม่มีคำตอบตายตัวครับ ถ้ากำลังจะเริ่มทะเลาะกันกับเจ้าบ่าวในประเด็นตรงนี้ อย่าพึ่งใจร้อนนะครับ มันมีทางออกของปัญหาต่างๆที่ว่ามาอยู่ และไม่ใช่เจ้าสาวหรือเจ้าบ่าวคนเดียวที่ติดปัญหานี้
กรณีติดปัญหาในส่วนนี้สามารถสอบถาม แอดมินได้ครับจะมีบริการในส่วนที่เป็น Nikah Planner อยู่ ซึ่งจะรวมถึงการให้คำแนะนำ และคำตอบของปัญหาข้างต้นและอื่นๆเกี่ยวกับการนิกะห์ทั้งหมดที่รบกวนใจเจ้าสาวและเจ้าบ่าวครับผม

3.เจ้าสาวพุทธ วางแผนการเรียนรู้ และเข้ารับอิสลาม
มาถึงช่วงทำใจยาก และเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของเจ้าสาวพุทธ ที่จะ ทำพิธีนิกะห์ กับเจ้าบ่าวมุสลิมทุกคน ถึงแม้ตัวเจ้าสาวพร้อมจะเปลี่ยนแค่ไหนก็ตาม ก็ยังยากอยู่ดี การเปลี่ยนศาสนาเป็นเรื่องที่ สร้างความเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่าง และหลายๆมิติในชีวิต ทั้งเรื่องของตัวเอง และเรื่องของครอบครัว เรื่องการปรับตัว และการใช้ชีวิต แอดมินและ รุ่นพี่เจ้าสาวทุกคนเป็นกำลังให้กับว่าที่เจ้าสาว คนใหม่ในส่วนนี้นะครับ
อย่างที่ทราบกันดี จากหัวข้อที่แล้วคือ การนิกะห์นั้น มีองค์ประกอบ และองค์ประกอบหนึ่งคือ การที่บ่าวสาว เป็นมุสลิมด้วยกันแล้วทั้งคู่ ไม่ว่าจะเป็นมาแต่เดิมหรือ เปลี่ยนก่อนแต่งงานก็ตาม เมื่อเข้ามาเป็นมุสลิมแล้วก็ถือว่า ครบตามองค์ประกอบที่กล่าวมา
แม้การเปลี่ยนศาสนา เป็นการเปลี่นแปลงสำคัญและ ต้องใช้พลังใจในการขับเคลื่อน แต่การเข้ารับอิสลามในตัวมันเองนั้น กลับไม่ได้ยากอย่างที่เข้าใจ ขั้นตอนการรับอิสลามนั้นง่ายมากกว่า ง่ายจนน่าตกใจด้วยซ้ำไป ลองอ่านบทความนี้ดูครับ การเข้ารับอิสลาม สำหรับมุสลิมใหม่ ฉบับเข้าใจง่าย ขั้นตอนจะเป็นไปตามที่กล่าวมาครับ
อย่างไรก็ดี สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญคือเวลาปรับตัว ในการเรียนรู้ศาสนาอิสลามนั้น ทีมงาน Araya แนะนำว่า ไม่ต้องรีบร้อนไปครับ ค่อยๆเรียนรู้ สิ่งสำคัญคือ ว่าที่เจ้าบ่าวที่เป็นมุสลิมอยู่แล้ว ต้องเรียนไปพร้อมกันด้วย อย่าปล่อยให้น้องเรียนอยู่คนเดียว คำว่า การเรียนดูเหมือนจะเป็นทางการ แต่เป็นการเรียนรู้ทางสังคม ทั้งผ่านการพูดคุย การอ่าน หรือ การสอบถามครูบาอาจารย์เพิ่มเติม หรือแม้แต่เข้าหลักสูตรเต็มรูปแบบ ตรงนี้แล้วแต่ครับ
มีสิ่งที่ต้องระวังพอสมควรอยู่เหมือนกัน อันนี้ แนะนำสำหรับว่าที่เจ้าบ่าวนะครับ การเรียนรู้ศาสนา นั้นต้องไม่เร่งรัด แต่ต้องมีกรอบเวลา การบาลานซ์กันในสองส่วนนี้สำคัญมากๆครับ การให้ว่าที่เจ้าสาวอยู่ในบรรยากาศที่ดี และมีการสอนศาสนาที่เป็นมิตรกับ ผู้สนใจหรือเพื่อนต่างศาสนานิกนั้น จะทำให้ว่าที่เจ้าสาวของเราผ่านตรงส่วนนี้ไปได้ง่ายขึ้น วางแผนในส่วนนี้อย่างระมัดระวังนะครับ และอย่าทำเป็นเรื่องชิวๆเชียวหละ

4.หมั่นสื่อสารกับคนในครอบครัวของเจ้าสาวพุทธ
ผมเชื่อว่าตัวเจ้าสาวพุทธ และตัวเจ้าบ่าวมุสลิมเอง ต้องเจออุปสรรคมากมาย กว่าจะถึงจุดที่ตัดสินใจแต่งงานกัน โดยเฉพาะปัญหาหนึ่งที่เป็นยอดฮิตคือ อุปสรรคจากผู้ใหญ่ในครอบครัว บางคู่เจอเล็กน้อย บางคู่กลายเป็นปัญหาใหญ่โตจนถึงตัดญาติขาดมิตรก็มี ไม่อยากให้กังวลแต่นั้นคือความจริงที่เกิดขึ้น
สิ่งที่มักผิดพลาดคือการหยุดการสื่อสารลงเมื่อเกิดปัญหา และการหยุดการสื่อสารมักจะทำให้ปัญหาจากเดิมเล็กน้อยกลายเป็นบานปลายได้เลยครับ สิ่งที่ควรทำจริงๆ ผมแนะนำว่า ไม่ว่าจะมี ความขัดแย้งอย่างไร เมื่อเข้าสู่กระบวนการจัดเตรียมงานแต่งแล้ว ขอให้รักษาการสื่อสารไว้ ไม่ว่าจะทางวาจา หรือ ทางกาย เช่นการแวะไปเยี่ยมเยียน หรือ ส่งสติกเกอร์ทางไลน์ไว้สม่ำเสมอ โดยไม่ต้องพูดคุยอะไรให้ซับซ้อนก็ได้ครับ
อย่างไรก็ดี ถ้าบ่าวสาวต้องการงานแต่ง ทีมีความหมาย และ มีความสำคัญสร้างสิ่งดีๆในชีวิตคู่จริงๆ ยังมีขั้นตอนที่ต้องจัดเตรียมในส่วนนี้อยู่ทั้งการรับฟังข้อมูลที่สำคัญ(ซึ่งบางครั้งต้องกรองจากอารมณ์ที่ไม่น่าฟัง) การนำข้อมูลเหล่านั้นมาออกแบบลำดับขั้นตอนในงานนิกะห์ ซึ่งจะมีวิธีการฟัง การพูด และสิ่งที่ต้องถาม ซึ่งส่วนนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งของ Workshop หรือ การบ้าน ในบริการ Nikah Planner ซึ่งไม่สามารถเล่าในส่วนนี้ได้หมดนะครับ เพราะค่อนข้างยาว ซับซ้อนและแตกต่างกันออกไปตามแต่ละครอบครัวครับผม
แต่ไม่ว่าอย่างให้ ให้ยึดหลัก การฟัง และรักษาการสื่อสารไว้ ซึ่งเป็นแก่นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของขั้นตอนนี้นั้นเอง

5.เจ้าสาวพุทธต้องวางแผนนิกะห์ อย่างเป็นระบบ
การวางแผนนิกะห์ เป็นระบบสำคัญมาก และปัจจุบันยังเป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทย เพราะที่ผ่านมา เจ้าบ่าวเจ้าสาวส่วนใหญ่ มักจะให้ภาระจัดนิกะห์ เป็นเรื่องของผู้ใหญ่ และสิ่งที่ผู้ใหญ่ทำถัดมาคือ จัดหาอิหม่าม และใช้การจัดงานตามรูบแบบที่เคยจัดกันมา ซึ่งมักจะมีปัญหาซับซ้อนตามมามากมาย โดยเฉพาะกรณีเจออิหม่ามที่ไม่เข้าใจความแตกต่างทางศาสนา
การจัดงานนิกะห์อย่างเป็นระบบ ไม่ใช่เพียงการซื้อแพ็กเก็จแต่งงาน หรือ แพ็กเก็จนิกะห์ แต่มีการบ้าน ที่บ่าวสาวต้องทำร่วมกับ ทีมงานหรือผู้จัดงานหลายๆอย่าง โดยเฉพาะในส่วนการบ้านของตัวบ่าวสาวหรือครอบครัว เช่นการจัดการแขก การจัดการอาหารสำหรับแขก โดยเฉพาะที่ต่างศาสนา เช่นถ้ามีแขกทานเจ จะดูแลอย่างไร การนิกะห์ จะมีขั้นตอนอะไรบ้าง เลี้ยงของว่างตอนไหน คุณพ่อ คุณแม่ คุณย่าฝั่งเจ้าสาวที่เป็นพุทธ ต้องทำอะไรบ้าง เพื่อนจะช่วยในส่วนไหนบ้าง การจัดการสินสอด หรือใครนั่งตรงไหนเวลานิกะห์เป็นต้น ซึ่งถ้าตอบคำถามเหล่านี้ไม่เรียบร้อยก่อนเริ่มงาน ก็จะโกลาหลวุ่นวายในวันงาน นั่นเอง
ปัจจุบัน องค์ความรู้เหล่านี้ ยังไม่มีการจัดระเบียบเป็นระบบที่ชัดเจน ในประเทศไทย ซึ่ง Arayaพยายามพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งระบบที่เป็นการให้คำปรึกษา การรันคิวหรือดูแลวันงาน ระบบการจัดการออนไลน์ หรือแม้แต่ระบบการให้คำปรึกษาต่างๆออนไลน์ กรณีเจ้าสาวเจ้าบ่าวต้องการจัดด้วยตัวเอง การจัดการเหล่านี้ เรียกรวมๆว่า Nikah Planner นั่นเอง
อย่างไรก็ดีกรณีบ่าวสาวจัดการด้วยตัวเอง สิ่งที่ขาดไม่ได้คือการเตรียมความพร้อม และให้ความสำคัญ ผมเชื่ออย่างยิ่งว่า ถ้าเจ้าสาวและเจ้าบ่าว ทำตามขั้นตอนที่แนะนำ 5 ข้อนี้อย่างมั่นคง การจัดงานคู่รักที่มาจากครอบครัวต่างศาสนาจะราบรื่นแน่นอน

สรุปส่งท้าย
เจ้าสาวพุทธแต่งกับอิสลาม เป็นทั้งเรื่องที่ยากและง่าย แต่สิ่งหนึ่งที่ทีมงานยืนยันได้อย่างแน่นอนถ้าทำได้ถูกขั้นตอน งานแต่งงานอิสลามของคุณจะราบรื่น สำคัญที่สุดคือ คุณไม่ได้ตัวคนเดียว เมื่อไหร่ที่ท้อ คลิกเว็บไซต์ ของทางทีมงาน ภาพบ่าวสาวทุกคู่ที่อยู่ในนี้ คือคู่รักต่างศาสนาเหมือนกับคุณ ทีมงาน Araya Nikah Planner เป็นกำลังใจให้กับเจ้าสาวพุทธ ที่แต่งกับ อิสลามทุกคู่ และหวังว่าจะเจอกันคิวถัดไปนะครับ ยินดีให้บริการมากครับผม
How to 8 ขั้นตอน คบหาดูใจ กับ คู่รักต่างศาสนา
1. ให้ยอมรับว่า มันไม่ใช่เรื่องง่าย
ความรักเกิดขึ้นได้ไม่ยากนัก แต่การประคองรักต่างศาสนาให้เป็นกิจลักษณะนั้นถือว่ายากพอสมควร เพราะเมื่อ กระบวนการนี้ไปถึงขั้นตอนการแต่งงานหมายถึงการรวมสองครอบครัวที่มีที่มาต่างกัน เข้าด้วยกัน ก็จะเพิ่มความยากและซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ การยอมรับว่ามันไม่ง่ายตั้งแต่เริ่มดีกว่า การคิดว่ามันง่ายแล้วไปเจอปัญหาทีหลัง การเตรียมตัวจึงเป็นเรื่องสำคัญ นั่นคือก้าวแรก
2. เลิกเชื่อคนในอินเตอร์เน็ต
คู่รักต่างศาสนามักเรียนรู้ศาสนาของคู่ตัวเอง จากอินเตอร์เน็ต สิ่งทีคุณควรทำคือหยุดทันที เพราะอะไร? เพราะ โลกเราไม่ได้มีคนประเภทเดียว แบบเดียว ถ้าคุณเป็นคนพุทธ คุณลองนึกดูว่า มีคุณพุทธที่มีความเชื่อกี่แบบในโลกใบนี้ ตั้งแต่ ธรรมกาย พุทธทาส เซน พุทธแบบจีน พุทธแบบพม่า พุทธที่เป็นเอทิส เยอะแยะไปหมด และในแต่ละกลุ่มคนแต่ละคนก็มีรายละเอียดแตกต่างกัน มีความเชื่อในบางเรื่องเหมือนกัน มีความเชื่อในบางเรื่องต่างกัน มีความหลากหลาย สังคมมุสลิม คริสต์ เอทิสก็เช่นกัน ในทางปฏิบัติจึงเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะรู้จักคนๆเดียวจริงๆ จากการเปิดอินเตอร์เน็ต หรือดูหนัง ถ้าคุณเปิดอินเตอร์เน็ต เกี่ยวกับมุสลิม คุณอาจจะมองเด็กมุสลิมเรียบร้อยคนหนึ่งที่กำลังตั้งใจเรียนหนังสือ กลายเป็น คนบ้าผู้หญิง และชอบวางระเบิดไปเลยก็ได้ ไม่เอาหน่า นี่โลกความจริงมันมีความหลากหลาย ให้โอกาสผู้คนที่ต่างจากเรากันหน่อย จงปิดอินเตอร์เน็ต นั้นคือ ก้าวแรกของการเรียนรู้กัน
3. เรียนรู้จากคู่ของคุณ และสังคมรอบๆเค้า
การเรียนรู้ “คนๆหนึ่ง” ที่ดีที่สุด คือการเรียนรู้จากตัวเค้าเอง จากสิ่งที่เค้าเชื่อ จากสิ่งที่เค้าคิด จากสิ่งที่เค้าพูด จากสิ่งที่เค้ากระทำ จงเรียนรู้คู่ของคุณจากตัวตนของเค้า ไม่ใช่อินเตอร์เน็ต หรือคู่ของคนอื่น อะไรที่สงสัย รู้สึกว่าจะมีปัญหาในอนาคต จงเปิดใจคุยกับเค้า ให้เค้าได้อธิบายในมุมมองของเค้าเอง ว่าเค้าคิดกับเรื่องต่างๆนี้อย่างไร การที่คุณได้เรียนรู้จากเค้า และสังคมเพื่อน ครอบครัวรอบตัวของเค้า ทำให้คุณเห็นภาพความเป็นจริงของคู่ของคุณ และสิ่งที่คุณอาจจะต้องเจอในอนาคตมากขึ้น ซึ่งอาจจะดีหรือ ไม่ดีก็ได้ แต่ละคู่ก็ย่อมแตกต่างกันไป แต่ก็เป็นข้อมูลสำคัญที่จะทำให้คุณรู้ว่า ควรจะไปต่ออย่างไร
4. เข้าใจข้อจำกัด
สิ่งที่ทำให้คู่รัก ครอบครัวสังคมเจอทางตันอย่างหนึ่งเมื่อเจอกับความแตกต่าง คือ การไม่เข้าใจข้อจำกัดของกันและกัน และมักเอาตัวเราไปตีกรอบ คู่ของเราเอง “การเข้าใจข้อจำกัด”เครื่องมือนี้จะทำให้คุณทำลายทุกกำแพงในโลก และทำให้คุณตระหนักได้ว่า ในโลกนี้ไม่ได้มีแต่ กรอบความคิดความเชื่อหรือ รูปแบบวิถีชีวิตแบบเดียว กิจวัตร วัตรปฏิบัติ ข้อห้ามข้อระวัง ข้อสำคัญของแต่ละวัฒนธรรมและศาสนาต่างกัน เรื่องบางเรื่องไม่สำคัญสำหรับเรา แต่สำคัญสำหรับคู่ของเรา การเข้าใจข้อจำกัด ของอีกฝ่าย และเปิดใจว่า ในโลกใบนี้ไม่ได้มีแค่วัฒนธรรมความเชื่อเดียวจะทำให้ คุณทลายกำแพง และทางตันลงได้
5. สนุกกับการปรับตัว
เมื่อคุณเรียนรู้ คู่ของคุณ และ ได้เครื่องมือที่เรียกว่า การเข้าใจข้อจำกัดแล้ว ถ้าคุณผ่านสองข้อนี้มาได้แสดงว่าคุณมีแววไปรอด ได้เวลาที่คุณต้องปรับตัวเข้าหากัน อะไรที่เป็นข้อจำกัดของอีกฝ่าย ที่ทำแล้วเราสบายใจแต่เค้าไม่สบายใจก็อย่าทำ แคร์ความรู้สึกของกันและกัน ในทุกๆเรื่อง วางเรื่องสิทธิ หรือ เสรีภาพลงก่อน เราไม่ได้กำลังจะประกาศอิสรภาพ คู่รักคือคนร่วมทุกข์ร่วมสุข การปรับตัวเข้าหากันเป็นเครื่องยืนยันว่า เราจะไม่สุขคนเดียวในขณะที่อีกฝ่ายกำลังทุกข์ใจ นั่นแหละคือ ความสัมพันธ์ที่แท้จริงของคนที่เป็นคู่รักกัน หาจุดที่คุณมีความสุขทั้งคู่ ไม่ใช่คนใดคนหนึ่งต้องทุกข์อยู่เพียงลำพัง
6. จงให้เกียรติกัน และ อย่าคาดหวังว่าทุกคนจะรักคุณ
การให้เกียรติกันเป็นเรื่องสำคัญ จงให้เกียรติคู่รักของคุณเสมอในทุกๆเรื่อง รวมทั้งให้เกียรติครอบครัวของคู่รักคุณด้วย จงเข้าหาผู้ใหญ่รับฟัง ข้อกังวล รับฟังความรู้สึก รักเค้าให้เหมือนกับที่รักคู่ของคุณ
แต่อย่าคาดหวังว่าทุกคนจะรักคุณกลับ ไม่เอาหน่า ความรักความเอ็นดู มันไม่ได้จะเกิดขึ้นในวันสองวัน เดือนสองเดือน มีหลายคู่รักที่ต้องพิสูจน์ตัวเอง เช่นเดียวกับคุณต่อให้เค้าศาสนาเดียวกันก็ตาม ไม่ต้องรีบร้อนที่จะได้รับความรักจากทุกคน แค่คุณรู้จักให้เกียรติผู้ใหญ่รู้จักเข้าหา ไม่ถือสา และไม่คาดหวังว่าคุณจะต้องเป็นทีรักหรือได้รับการปฏิบัติที่ดีตอบ คุณแค่แสดงออกว่ารักและปราถนาดีต่อเค้า แค่นั้นก็พอแล้ว เท่านั้นเอง
7. เมื่อเจอทางตัน ให้ตั้งคำถามว่าตันเพราะอะไร
เมื่อคุณทำทุกอย่างตามที่แนะนำแล้ว ยังเจอทางตัน คุณต้องมาตั้งคำถามสำคัญสองข้อว่า คุณเจอทางตันเพราะอะไร ข้อแรก เจอทางตันเพราะคนอื่นรอบๆตัว หรือ เจอทางตันเพราะคู่ของคุณเอง ถ้าเป็นทางตันที่เกิดจากคนอื่นๆ ผมอยากให้คุณพิจารณาให้ดีๆว่า เราจะจบความรักของเราเพราะคนอื่นๆรอบๆตัวเราจริงๆไหม ไม่ต้องรีบร้อน คุณต้องไม่ลืมว่าการแต่งงานถึงแม้จะมีโครงสร้างทางสังคมจากคนรอบตัวที่ซับซ้อน แต่ความรัก เป็นแค่เรื่องของคุณสองคนจริงๆ ถ้าคุณสองคนยังพร้อมจะร่วมทุกข์ร่วมสุขกันอยู่ก็ไม่ควรให้คนอื่นเป็นผู้สร้างทางตันให้คุณ แต่ถ้าคุณเจอทางตันเพราะความไปกันไม่ได้ระหว่างคู่ของคุณเอง นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่คุณต้องชั่งน้ำหนักต่อไป
8. จงจำไว้ว่าทางเลือกเป็นของคุณเอง
ไม่ว่าอย่างไรจงจำไว้เสมอ ทางเลือกทั้งหมดเป็นของคุณเอง ในหลายๆครั้งของความรักมันไม่ได้เป็นเรื่องถูกหรือผิด วางถูกหรือผิดลง และมองไปว่า คนๆนี้จะเป็นคนที่เราจะร่วมทุกข์ร่วมสุขไปด้วยกันตลอดไปไหม ถ้าใช่ คุณก็แค่ต้องเดินต่อ จุดจบของความสัมพันธ์ แบบคู่รักในทางสังคมมีหลายแบบ มีทั้ง happy endding มีทั้ง dramatic หรือ disaster เป็นตอนจบที่เป็นไปได้ทั้งหมดเหมือนๆ กับคู่รักทั่วไป แต่นั้นก็เป็นเรื่อง “ทางสังคม” แต่ถ้าคุณรักกันแล้ว ไม่ว่าเรื่องทางสังคมจะจบอย่างไร แต่ความรักของคุณซึ่งมี “แค่คุณสองคนจริงๆ” จะเป็นหนัง romantic เสมอไปเท่านั้นเอง ก่อนจบตรงนี้ ถ้าคุณทั้งคู่เดินทางมาถึงจุดที่ตัดสินใจที่จะแต่งงานกัน และอยากหาใครสักคนทำให้งานที่มาจากความรักต่างศาสนาเป็นไปอย่างราบรื่นอย่างที่ควรจะเป็น ติดต่อเข้ามาได้ ยินดีให้บริการเจอกันคิวถัดไปนะครับ
C.BungJoke
Thai muslim Cross religion marriage Wedding specialist
Ara-ya

นิกะห์ คืออะไร? และทำอย่างไร? ฉบับเข้าใจง่าย
นิกะห์ คือ การแต่งงานระหว่างผู้ที่เป็นมุสลิม เป็นการแต่งงานตามหลักการของศาสนาอิสลาม ถ้าเทียบให้เห็นภาพคือ การนิกะห์คือการแต่งงานในวัฒนธรรมอิสลาม เปรียบเทียบเช่น คนพุทธมีงานเช้าพิธีรดน้ำสังข์ คนคริสต์มีแต่งในโบสต์ต่อหน้าบาทหลวง มุสลิมก็มีการนิกะห์ ซึ่งคือการแต่งงานตามหลักศาสนานั่นเอง
องค์ประกอบของการนิกะห์
องค์ประกอบที่ทำให้การนิกะห์สมบูรณ์มีด้วยกัน 5 ประการดังนี้
- – เจ้าบ่าวและเจ้าสาว (เป็นมุสลิมด้วยกัน)
- – วะลีย์ (ผู้ปกครองฝ่ายเจ้าสาว โดยกำเนิดหรือ โดยแต่งตั้งชั่วคราว)
- – คำกล่าวเสนอ-สนองแต่งงาน (ระหว่างผู้ปกครองเจ้าสาว และเจ้าบ่าว )
- – ผู้ร่วมเป็นพยานในการแต่งงาน (ต้องเป็นผู้ชาย 2 คน ขึ้นไป)
- – ของขวัญแก่เจ้าสาว (เรียกว่า มะฮัร หมายถึงสินสอดทองหมั้น)
เมื่อองค์ประกอบครบตามนี้การนิกะห์ หรือการแต่งงานอิสลามก็จะสมบูรณ์
บรรยกาศการนิกะห์ โดยท่านอาจาร์ย อาลี เสือสมิง
สถานที่จัดงานนิกะห์
สถานที่จัดงานนิกะห์ สามารถจัดที่ไหนก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสะดวกของเจ้าภาพ โดยนิยมจัดตั้งแต่ ที่บ้านของเจ้าบ่าวหรือเจ้าสาว สุเหร่า หรือ โรงแรมที่รองรับ เอาภาพตัวอย่างการจัดนิกะห์ ที่ดูแล โดย ทีมงาน Ara-ya มาฝากครับ
แต่งงานอิสลาม สวมแหวนได้ไหม รับไหว้ได้ไหม ขันหมากได้ไหม ? และอื่นๆ
ก่อนจะตอบคำถามนี้ต้องเข้าใจก่อนว่า ในการจัดงานแต่งงานจะมีสองส่วนคือ ส่วนที่เป็นตามหลักศาสนาเรียกว่าการนิกะห์ และส่วนที่เป็น วัฒนธรรมการแต่งงานของสังคมๆนั้นๆ เช่นการเลี้ยงฉลองอาหารหลังเสร็จการนิกะห์เป็นต้น หรือวัฒนธรรมร่วมสมัยเช่นการสวมแหวน การหมั้นหละ การสู่ขอหละ ? คำตอบของคำถามนี้ จึงไม่สามารถตอบตัวได้ตายตัว และมีตัวแปรของ สังคมวัฒนธรรมรอบตัวของเจ้าบ่าวเจ้าสาวต่างๆกันเป็นรายคู่ไป จากประสบการณ์จัดงานแต่งงานมาร่วมสิบปี แม้แต่สังคมมุสลิมด้วยกันแต่งงานกัน ในบางรายละเอียดก็ตอบคำถามนี้ไม่ตรงกันเช่นกัน แล้วอะไรคือคำตอบที่ถูกต้อง? ที่studio จะมีทีมงานให้คำปรึกษาในเรื่องต่างๆ รวมทั้งวิธีแก้ปัญหา ทางออกและออกแบบ งานแต่งงานที่เหมาะสมตามแต่ละคู่ไป ซึ่งสามารถสอบถามเข้ามาได้นั่นเองครับ
เป็นคนพุทธ จะนิกะห์ต้องเริ่มอย่างไร?
กรณีเป็นคนพุทธ แต่งงานกับมุสลิม จะนิกะห์ ต้องเริ่มอย่างไร อย่างแรก ที่ควรทำคือ การเข้ารับอิสลามให้เรียบร้อยก่อนวันงาน เนื่องจากเงื่อนไขการนิกะห์ ข้อแรกคือ เจ้าบ่าวเจ้าสาวจะต้องเป็นมุสลิมด้วยกันทั้งคู่ การเข้ารับอิสลามให้เรียบร้อยก่อนวันนิกะห์ แต่เนิ่นๆมีข้อดีหลายอย่างโดยเฉพาะกับเจ้าสาว เนื่องจาก ในพิธีนิกะห์ พิธีการส่วนใหญ่จะตกอยู่ทางฝั่งเจ้าบ่าว ถ้าเจ้าสาวเปลี่ยนศาสนาเรียบร้อยแล้วก็จะตัดความกังวลใจในวันงานไปได้อีกหลายอย่าง เนื่องจากกิจกรรมทางศาสนาที่เกี่ยวข้องกับเราจะลดลงไป กรณีไม่รู้จะเริ่มอย่างไร สามารถติดต่อปรึกษากับทางทีมงานได้ ทาง Studios มีทีมงานคอยให้คำปรึกษาตั้งแต่เริ่มต้นครับ ให้กำลังใจอีกนิด บ่าวสาวในตัวอย่างทั้งหมดของทางร้านเป็นคู่พุทธที่แต่งเข้าอิสลาม และยังมีอีกหลายร้อยคู่ ดังนั้นไม่ต้องกังวลใจ ถ้าเปิดใจทุกอย่างจะเรียบร้อยแน่นอน เป็นกำลังใจให้ครับ เจอกันคิวถัดไปนะครับ
อยากจัดงานแต่งอิสลาม แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไง?
เรียนศาสนาอิสลามที่ไหนดี?
แนะนำที่เรียนศาสนาอิสลามสำหรับผู้สนใจ
1. มูลนิธิสันติชน439 ถนนลาดพร้าว 112 แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310โทร. 0 2539 4693-5 ต่อ 19 โทรสาร 0 2539 4696
https://www.facebook.com/pageknowislamthailand/
2. สภายุวมุสลิมโลก สำนักงานประเทศไทย7/70 หมู่ 4 ถ.อ่อนนุช ซ. 59 แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250โทร 0 2321 7061 โทรสาร 0 2321 7062
3. บ้านสกุลดี เคหะร่มเกล้า ซอยร่มเกล้า 24 เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ หรือเข้าทางซอยมิสทีน ถ.รามคำแหง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณซัลมา สกุลดี 0891997017 สอนทุกวันเสาร์-อาทิตย์
4. อิสลามศึกษา พญาไท (รับสอนภาษาอาหรับเพื่อการสื่อสารและธุรกิจด้วย)118 / 2 ซอยเพชรบุรี 5 ถนนเพชรบุรี แขวงทุ่งพญาไทเขตราชเทวี กรุงเทพ ฯ 10400 โทร 08-40177381 สำหรับผู้ที่ต้องการเรียนอัลกุรอาน ติดต่อที่ อ.มัรฟู กลิ่นมาลัย โทร.086-9738348
5. มูลนิธิเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาสังคม หาดใหญ่
27 ม.1 ซ.ควนสันติ1 ต.ควนลัง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 โทร : 074-255663 แฟกซ์ : 074-255701
http://www.hidayahcenter.com
6. สมาคมมุสลิมสัมพันธ์ภูเก็ต
นายกสมาคมฯ 08-7269 2692
เลขาสมาคมฯ 08-1089 9654
ทีมงานฝ่ายประสานงาน 08-9474 2011, 08-5690 8833
http://www.muslimsampanphuket.com
ธรรมโอวาทเรื่อง ความเมตตา
บันทึกการกล่าวธรรมโอวาทของญาติผู้ใหญ่ในครอบครัว
ขอความสันติสุข จากพระเจ้าให้เกิดกับ ผู้ที่มาเข้ารับฟังวันนี้ทุกท่าน
ครอบครัวเป็นรากฐานของสังคมและวัฒนธรรมของเรา และในฐานะมุสลิม เราถูกสอนให้เห็นคุณค่าและหวงแหนความสำคัญของครอบครัว อิสลามให้แนวทางและหลักการแก่เราเพื่อให้แน่ใจว่าสภาพแวดล้อมในครอบครัวที่ดีต่อสุขภาพและความสามัคคี
หนึ่งในหลักการสำคัญในอิสลามคือแนวคิดของ “เราะมะห์” ซึ่งหมายถึงความเมตตา ความเห็นอกเห็นใจ และความกรุณา ในบริบทของครอบครัว สิ่งสำคัญคือต้องปฏิบัติตามเราะมะห์ในทุกด้านของชีวิต เราควรปฏิบัติต่อคู่ครอง ลูก และพ่อแม่ของเราด้วยความรัก ความเมตตา และความเคารพ แม้พ่อแม่นั้นจะอยู่คนละศาสนาก็ตาม
นอกจากเราะมะห์แล้ว อิสลามยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการสื่อสารในครอบครัว เราควรสื่อสารกันด้วยความเมตตากรุณา รับฟังความคิดเห็นและข้อกังวลของกันและกัน การทำเช่นนี้ทำให้เราสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเกื้อกูลซึ่งทุกคนสามารถแสดงออกได้อย่างอิสระ
อย่างที่เราทราบกันดีว่าการเลี้ยงดูครอบครัวไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้ความอดทน ความทุ่มเท และความมุ่งมั่น อย่างไรก็ตาม ด้วยคำแนะนำและหลักการของอิสลาม เราสามารถสร้างสภาพแวดล้อมครอบครัวที่ดีต่อสุขภาพและความสามัคคีที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกๆ ของเรา
โดยสรุปแล้ว ข้าพเจ้าขอเน้นย้ำว่าการดูแลวัฒนธรรมครอบครัวด้วยหลักการอิสลามนั้นไม่ใช่เพียงหน้าที่ทางศาสนาเท่านั้น แต่ยังเป็นความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย ในขณะที่เราทำงานเพื่อสร้างครอบครัวที่แข็งแรงและปรองดองกัน เราก็มีส่วนทำให้สังคมของเรามีความเป็นอยู่ที่ดีเช่นกัน
การเข้ารับอิสลาม สำหรับมุสลิมใหม่ ฉบับเข้าใจง่าย
การเข้ารับอิสลามและเป็นมุสลิมใหม่นั้น มีขั้นตอนไม่ยากเลย ที่บอกว่ามีขั้นตอนไม่ยาก เพราะถ้าอธิบายสรุปขั้นตอนให้สั้นมันจะมีแค่สองขั้นตอนคือ ขั้นที่หนึ่งคือทำจิตใจให้สงบให้รู้ว่าตัวเองกำลังจะพูดอะไร ขั้นที่สองพูดประโยคหนึ่งประโยคหนึ่งที่เรียกว่า”คำปฏิญาณตน”ออกมา เท่านั้นจบ นี่คือขั้นตอนการเข้ารับอิสลามเป็นมุสลิมใหม่ ง่ายๆสั้นแบบนี้นี่เอง คำปฏิญาณที่ต้องกล่าวนั้นคือ “อัชฮาดุอัล ลาอิลา ฮะอิล ลัลลอฮฺ วะอัช ฮาดุอัน นะมุหัมมะดัร รอซูลุลลอฮฺ”ซึ่งมีความหมายว่า
“ฉันขอปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และฉันขอปฏิญาณว่า มุหัมมัดคือศาสนทูตของพระองค์”
หลังกล่าวคำปฏิญาณนี้จบ คุณก็เป็นมุสลิมใหม่
https://youtu.be/RbIHzhKy8VI
การเข้ารับอิสลามจำเป็นต้องมีเอกสาร หรือพยานไหม?
อย่างไรก็ดี แม้การเข้ารับศาสนาอิสลามแม้ในทางปฏิบัติไม่จำเป็นต้องมีพยาน เพราะเป็นเรื่องระหว่างคุณกับอัลลอฮ์ แต่การมีพยานจำเป็นทันทีเมื่อ คุณต้องการ “เอกสาร” เพื่อใช้ในทางกฏหมาย และถ้าคุณต้องการเอกสารตามกฏหมายก็จะมีเรื่องเอกสารเพิ่มเติมเข้ามาอีกเป็นต้น อีกแง่มุมเกี่ยวกับการมีพยานบุคคลคือ การมีพยานเข้ารับอิสลาม จะทำให้คุณทำกิจกรรมทางศาสนาที่ต้องใช้ฐานะความเป็นมุสลิมของคุณได้ราบรื่นขึ้น เช่นกิจกรรมการแต่งงาน หรือการนิกะห์ ถ้าคุณมีพยานการเข้ารับอิสลามโดยเป็นผู้ใหญ่ที่ครอบครัวฝั่งมุสลิมรู้จัก จะช่วยให้การแต่งงานของคุณราบรื่นขึ้นด้วย อย่างน้อยผู้ประกอบพิธีนิกะห์ ท่านก็ได้รุ้ว่าคุณได้เข้ารับอิสลามแล้วกับคนที่ท่านคุ้นเคย ทำให้สบายใจกันทุกฝ่ายว่าการนิกะห์นี่จะถูกหลักศาสนาแน่นอน นั่นเอง
วิดิโอตัวอย่างการเข้ารับมุสลิมใหม่ แบบมีพยานและเอกสาร โดย อาจารย์ บรรจง บินการซัน มูลนิธิสันติชน
https://youtu.be/RNw2I5gyuM0
สุดท้ายการเข้ารับอิสลาม กับการเรียนรู้อิสลาม เป็นคนละความหมายกัน การเข้ารับอิสลาม แม้มีขั้นตอนที่กระชับและง่าย แต่การเรียนรู้อิสลาม ต้องเรียนรู้กันตลอดชีวิตนะครับ เป็นกำลังใจให้ว่าที่มุสลิมใหม่ทุกคนครับ
ตัวอย่างเอกสารรับรองการเข้ารับอิสลามหาจากไหน?
แบบรับรองการเข้ารับอิสลาม สามารถดาวโหลดได้จาก เว็บไซต์ ของสำนักจุฬราชมนตรี หรือ สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร โดยคลิกได้ที่ลิงค์นี้
แบบรับรองการเข้ารับอิสลาม
อยากจัดงานแต่งอิสลาม แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไง?
บทความก่อนแต่งงานอิสลาม
ข้อมูลคลินิกและโรงพยาบาลที่สามารถขริบได้ (ข้อมูลปี 2015)
การขริบ สามารถขริบได้ทุกโรงพยาบาลที่มีแผนกศัลยกรรมทั่วไปหรือศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ ถ้าอยู่ใกล้โรงพยาบาลไหน แนะนำให้ลองเข้าไปสอบถามกับ จนท ดูก่อน เพราะสะดวก ประหยัดเวลาและค่าเดินทางตอนไปทำแผลหรือนัดคุยกับคุณหมอในกรณีที่เกิดผลข้างเคียงบางอย่าง จะได้รักษาหรือแก้ไขได้ในทันทีครับ
- สถานพยาบาลรัชดา – ท่าพระ
คุณหมอมกรเทพ / 3,500 บาท (ไม่รวมค่าทำแผล 150 บาทต่อครั้ง) / เบอร์โทร 02-466-5031 / ทำทุกวัน จันทร์ – เสาร์ ตั้งแต่ 9 โมงเช้า – 4 โมงเย็น / ใกล้ BTS ตลาดพลู, BRT ราชพฤกษ์, เดอะมอลล์ท่าพระ - บางกะปิคลินิกเวชกรรม
คุณหมอจิรเวช / 5,000 บาท ถ้าตัดเส้นด้วย 5,500 บาท ทำแผลครั้งละ 100 บาท / เบอร์โทร 02-377-5059 / ทำทุกวัน จันทร์ – เสาร์ ตั้งแต่บ่ายโมงเป็นต้นไป / ใกล้ท่าเรือแสนแสบเดอะมอลล์บางกะปิ, ท่าเรือแสนแสบบางกะปิ, ตลาดบางกะปิ, ห้างพันธุ์ทิพย์บางกะปิ - สันติชนคลินิก (อัสลามคลินิกเวชกรรม)
คุณหมอชาติชาย / ประมาณ 7,000 บาท (ขึ้นอยู่กับความยากในการทำ) / เบอร์โทร 02-539-4697 / ทำเฉพาะวันจันทร์ และพฤหัส ตั้งแต่ 5 โมงเย็น – 2 ทุ่ม / อยู่ในซอยลาดพร้าว 112 ใกล้มูลนิธิสันติชนและ ร.ร.อิสลามสันติชน - โรงพยาบาลตากสิน
คุณหมอสุโภคพัฑฒ์ / 2,000 – 3,000 บาท / เบอร์โทร 02-437-0123 / ทำเฉพาะวันพุธ และศุกร์ ตั้งแต่ 8 โมงเช้า – 11 โมง / คลองสาน ใกล้วงเวียนใหญ่, ร.พ.จิตเวชสมเด็จเจ้าพระยา - โรงพยาบาล / คลินิกอื่นๆ ใน กทม.
กลุ่มโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย
โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลวชิระ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
กลุ่มโรงพยาบาลรัฐ
โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ เขตธนบุรี
โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี เขตคันนายาว
ข้อมูลที่แนบมาให้เป็นเพียงตัวอย่างโรงพยาบาลที่สามารถขริบได้เบื้องต้นเท่านั้น และเป็นการอัพเดทล่าสุดเมื่อปี 2015 นะครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก https://sarikamenhealth.com
ข้ามวัฒนธรรมไม่โดดเดี่ยว

(ARAYA CROSS CULTURE ECOSYSYTEM)
ข้ามวัฒนธรรมไม่โดดเดี่ยว
เป็นการสร้างพื้นที่ปลอดภัย ระบบนิเวศ สภาพแวดล้อมให้กับ
เพื่อนต่างศาสนิกที่จะเข้าสู่อิสลาม และวางแผนแต่งงาน
ให้มีขั้นตอนเป็นระบบ
แนวคิดนี้มุ่งหวังให้ การนิกะห์ หรือการแต่งงาน
นำไปสู่การหลอมรวมสองครอบครัวที่มีความแตกต่าง
ทางวัฒนธรรมให้เป็นไปอย่างราบรื่นแล้ว
ยังมุ่งหวังที่จะช่วยลดบาดแผล ความไม่เข้าใจระหว่างกัน
ลดความกดดัน และอึดอัด และเป็นตัวแทนให้กับทั้งสองครอบครัว
ในการพูดคุยเรื่องที่ยากและให้ง่ายขึ้น เป็นระบบด้วย
6 ขั้นตอนปรับตัว
1.การเตรียมความพร้อมตั้งแต่เริ่มคบหาดูใจ
ให้บ่าวสาวมีความเข้าใจที่ถูกต้องระหว่างกัน ความคาดหวังที่ถูกต้องระหว่างกัน ไม่ทำสิ่งผิดพลาดระหว่างกันในเรื่องการข้ามวัฒนธรรมจนทำลายความสัมพันธ์ที่กำลังเบ่งบาน อ่านบทความ เจ้าสาวพุทธ แต่งกับอิสลามต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างคะ?
2.เพื่อนต่างศาสนิกมีคำถาม มีพื้นที่ให้พูดคุยแบบเพื่อนกับเพื่อน ให้ได้ถามให้ได้แสดงความรู้สึกลึกๆที่กังวลในขณะเดียวกันเมื่อมีความสนใจ มีพื้นที่ให้ว่าที่บ่าวสาวได้มีโอกาส แตะวัฒนธรรมอิสลาม รวมทัง้สนับสนุนให้มุสลิมเรียนรู้ทำความเข้าใจวัฒนธรรมอีกฝ่ายด้วยเพื่อให้ปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสม ขอคำแนะนำเกี่ยวกับวัฒนธรรมอิสลาม คลิก

3.เมื่อพร้อมเรียนรู้ วางระบบให้สามารถที่จะเข้าถึง ครู สถานที่ การเรียนการสอนที่ตระหนักถึง ความรู้สึกทั้งของผู้เรียน และของครอบครัวต่างศาสนิก และ เพื่อให้ ก้าวข้ามกำแพงแห่งความแตกต่างไปพร้อมๆกับเรียนรู้หลักการของอิสลาม อย่างเป็นระบบ โดยสมัครใจและเปิดใจ ขอคำแนะนำเกี่ยวกับสถานที่เรียนศาสนาคลิก
4.การเดินทางข้ามวัฒนธรรมนั้นเป็นเรื่องโดดเดี่ยว คือการข้ามโลกอีกใบที่แม้มีคนมากมายแต่เหมือนอยู่ตามลำพัง สนับสนุนให้ มีเพื่อนร่วมเดินทาง ให้ครอบครัว ว่าที่ครอบครัว เริ่มเดินทางไปพร้อมๆกัน สนับสนุนให้เกิดสังคมผู้ข้ามวัฒนธรรมคล้ายๆกัน เป็นเพื่อนเรียนเป้นเพื่อนคุญ เป็นเพื่อนให้คำปรึกษาเพื่อให้กาเดินทางครั้งนี้ไม่มีใครถูกทิ้งไว้ตามลำพัง




5.เมื่อพร้อมจะจัดงานแต่งงานอิสลามแล้ว และต้องการให้ ARAYA ดูแล งานที่จัดมีความมุ่งหมายเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นระหว่างสองครอบครัว การจัดงานที่ถูกหลักศาสนา เป็นมิตรกับแขกต่างศาสนา และ ราบรื่น เป็นมืออาชีพ สวยงามหรือ เรียบง่ายตามงบประมาณ ในส่วนนี้จะเข้าสู่ระบบงาน สินค้าและบริการของ ARAYA ดูสินค้าและบริการของARAYA คลิก











6สนับสนุนใหเกิดครอบครัว พหุวัฒนธรรม ที่ รักษาการปฏิบัติศาสนกิจตามหลักศาสนาอิสลามได้มั่นคงไปพร้อมๆกับ การเป็นมิตรและปฏิบัติอย่างดีกับครอบครัวที่แตกต่างทางศาสนา เป็นครอบครัวพหุวัฒนธรรมอย่างแท้จริงในขณะที่กรณีมีปัญหาที่ ไ่ม่สามารถหาทางออกได้ ยังมีเพื่อน พี่ น้อง ที่ได้พบเจอตลอดการเดินทาง ข้ามวัฒนธรรม ให้คำปรึกษา และช่วยวางแนวทางแก้ไขในระยะยาวตลอดไป



ให้ บริษัท อารยา นิกะห์ แพลนเนอร์ แอนด์คอนเซาท์ ดูแลการเดินทางนี้อย่างเป็นระบบ เพื่อวางรากฐานครอบครัวพหุวัฒนธรรมที่แข็งแรง เจอกันคิวถัดไปที่บ้าน ARAYA นะครับ
IG & Tiktok
@arayaweddingplanner.com
อยากเริ่มแล้วต้องทำอย่างไร
การเดินทางนี้ ไม่ยากและไม่ง่าย ต้องทำตามขั้นตอนอย่างตั้งใจ
1.สร้างเป้าหมายร่วมกัน ทั้งสองคนจะต้องมีเป้าหมายที่หนักแน่นร่วมกันและตรงกัน ดังนี้
->ปรับตัว ไม่ใช่บังคับใจ
->เรียนรู้ศาสนา ไปด้วยกัน
->นิกะห์ที่เป็นมิตรกับพหุวัฒนธรรม หรือจะรวบจัดเลี้ยงประหยัดงบ (จัดงานกับ ARAYA)
->ยังเป็นตัวเองพร้อมเป็นมุสลิมที่ดี
->ดูแลครอบครัวต่างศาสนาได้
->เป็นครอบครัวพหุวัฒนธรรมที่สมบูรณ์และดีต่อใจ
2.ทำความรู้จัก ARAYA ให้เจ้าบ่าว และครอบครัว ครอบครัวทั้งสองฝ่าย ทำความรู้จัก ARAYA โดยอ่านข้อความต่างๆใน facebooKร้านต่างๆ ว่ามีแนวคิดยังไง? ทำไมคู่ที่ ARAYA ดูแลจึงประสบความสำเร็จตามที่ตั้งใจ
3.ครอบครัวต้องร่วมเข้าใจ ส่งลิงค์นี้ให้คู่ของเราและครอบครัว https://www.arayaweddingplanner.com/araya-cross-culture…/
4. ถ้าบ่าวสาวพร้อมจะเรียนรู้ศาสนาแล้ว ให้ทำนัดเข้ามาพูดคุยกับ แอด โดยนัดล่วงหน้า (ไม่มีค่าใช้จ่าย)
5. แอดมินจะวางแนวทาง แผนการเรียน วิธีที่จะเรียนให้ และวิธีที่จะได้เจอผู้ประกอบพิธีที่น่ารัก และ วางรากฐานครอบครัวพหุวัฒนธรรมให้ (ไม่มีค่าใช้จ่าย)
6.ที่เหลือ เราก็ดำเนินการด้วยตัวเองต่อได้เลย(ไม่มีค่าใช้จ่าย) หรือ จะให้ ARAYA ดูงานแต่งให้ก็ยินดีครับ (มีค่าใช้จ่ายตามสินค้าและบริการ)
ขั้นตอนการใช้บริการ Araya
- บ่าวสาวเลือก บริการ – วันที่ สนใจทำนิกะห์และจัดเลี้ยง
- พูดคุยรายละเอียดเบื้องต้น ปัญหาที่อยากให้ช่วยแก้ไข
- ทำนัดพูดคุยรายละเอียดที่บ้าน ARAYA (ไม่มีค่าใช้จ่าย)
- แจ้งจองทีมงาน วางมัดจำ เพื่อล๊อกวัน (มีค่ามัดจำ)
- เข้าสู่ Workshop ของ ARAYA
- ก่อนถึงวันงานจริง มีการเข้าพื้นที่จริง ซ้อมกำหนดการณ์ ทบทวนแผนงาน
- นิกะห์อย่างมีความสุข ตามวันที่ตั้งใจ โดยยังคงความมีส่วนร่วมได้ตามรูปแบบของ Araya


บทความการจัดงานแต่งงานอิสลาม
ปี 64 กับโควิด จัดงานแต่งอิสลามเดือนไหนดี คำแนะนำจาก Araya
โควิด 64 มาอีกแล้ว จัดงานแต่งเดือนไหนดี เลื่อนหรือ ลุยต่อ
ปี 2564 กับสถานการณ์โควิดระลอกใหม่ จัดงานแต่งเดือนไหนดี มาลองฟังแนะนำ การจัดงานแต่งอิสลามในสถานการณ์นี้จากทีม Wedding Consult ของ ArayaweddingPlanner.com กันครับ
ทีมงานจัด Phase งานแต่งในปีนี้ ออกเป็น 5 Phase ด้วยกัน
Phase 1 : มกราคม – กุมภาพันธ์ น่ากังวล แต่มีค่อนข้างมีความแน่นอนของภาครัฐ
แม้จะเป็นช่วงสถานการณ์โควิดกลับมาระบาดรอบสอง แต่เป็นช่วงที่ประกาศของรัฐบาลค่อนข้างนิ่ง สถานการณ์โดยรวมอาจไม่เปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบันมาก ทำให้การจัดการต่างๆร่วมกับทีมงานอื่นๆค่อนข้างแน่นอน วางแผนจัดงานง่ายกว่า บ่าวสาวที่ เดิมวางแผนแต่งในเดือนนี้ และ สามารถลดแขกลงได้ ต่ำกว่า 100 คน แนะนำให้จัดโดยไม่ต้องเลื่อนครับ แต่ถ้ามีแขก 200 ++ อาจจำเป็นต้องเลื่อนออกไปก่อนและมอง เฟส 2 และ เฟส 3 เป็นตัวเลือกเพิ่มเติมครับ

Phase 2 : มีนาคม – กลางเมษายน ถ้าสถานการณ์ดีขึ้น wedding โกลาหลแน่นอน
แม้สถานการณ์จะไม่ห่างจากเดิมมาก แต่ในช่วงเดือนนี้ ถูกประเมินร่วมกันว่า เป็นไปได้ที่สถานการณ์ ในเรื่องความเชื่อมั่นจะดีขึ้น และคนกลับมาใช้ชีวิตปกติมากขึ้น ด้วยข่าวการ นำวัคซีนเข้ามา หรือ การเข้าใจสถานการ์ณการระบาดของโรคมากขึ้น คู่บ่าวสาวที่แต่งในเดือนนี้และจองวันจัดงานแต่งไว้แล้ว สถิติเดิมส่วนใหญ่ยังไม่มีข่าวการเลื่อนงานออกไป อย่างไรก็ดี กรณีจัดวางแผนจัดในช่วงเดือนนี้และยังไม่ได้จับจองทีมงานต่างๆ แล้วสถานการณ์ดีขึ้น ทางทีมที่ปรึกษาประเมินว่า จะเกิดความโกลาหลแน่นอน เพราะทุกคน(ทั้งที่วางแผนใหม่และถูกเลื่อนออกมาจากปีที่แล้ว) ต่างแย่งพื้นที่กันเพื่อจัดงานแต่งให้เรียบร้อยก่อนเข้าศีลอด และ หลายๆพื้นที่ และทีมงานอาจเต็มทั้งหมดแล้ว ดังนั้น กรณีต้องการจัดก่อนศีลอด , และเล็งเดือนมีนาคม – เมษายนไว้ ให้จองแต่เนิ่นๆ กรณีไม่แน่ใจว่าจะต้องเลื่อนไหมให้คุยกับทีมต่างๆเรื่อง การรองรับการเลื่อนการจัดงาน ซึ่งทางการจัดงานกับ ArayaweddingPlanner ลองรับในส่วนนี้ด้วยครับผม

Phase 3 : ปลาย พฤษภาคม – ต้นสิงหาคม เดิมไม่นิยม แต่อาจเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด
เป็นตัวเลือกหลวมๆที่น่าสนใจ ทีมงานประเมินว่า สถานการณ์จะเข้าที่และดีขึ้นกว่าเดือน เมษายน ในขณะเดียวกัน มีเวลาให้จับจองพื้นที่ ทีมงานต่างๆมาก และเป็นช่วงเดือนที่คนยังไม่ได้ โฟกัสมากนัก ทำให้สามารถเลือกทีมงานและสถานที่ได้เต็มที่ ด้วยเฟสหลังจากนี้ ทีมงานว่าในปีนี้ สำหรับบ่าวสาวคู่ใหม่ๆที่กำลังวางแผนจัดงาน ช่วงนี้อาจะเป็นช่วงที่ดีที่สุดทั้งในแง่ ความเป็นไปได้ของการระบาด และ การมีตัวเลือกของทรัพยากรต่างๆในการแต่งงาน อย่างไรก็ดี การเริ่มก่อนได้เปรียบ ถ้าจับจองช้าออกไป บ่าวสาวที่พลาดใน เฟสสอง จะมองมายังช่วงนี้แทน และ เกิดการแย่งกันจับจองได้ครับ

Phase 4 : สิงหาคม – ตุลาคม เป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจ ฝนย่อมดีกว่า โควิด
เป็นช่วงเวลาที่ดีรองลงมาจาก เฟส 3 แต่เพราะเป็นช่วงหน้าฝน การจัดงานในช่วงนี้ เดิมจึงไม่ค่อยนิยม อย่างไรก็ดี ด้วยสถานการณ์ในเฟส 5 ทำให้ตัวเลือกนี้อาจเป็นตัวเลือกที่ดีลำดับ 2 หรือ 3 สำหรับบ่าวสาวโดยเฉพาะที่เป็นคู่ใหม่ การเลือกในเดือนนี้ ควรมองไปถึงการจัดงานในลักษณะที่ เป็นห้องอาหาร หรือห้องจัดเลี้ยง

Phase 5 : พฤศจิกายน – มกราคม 65 เดิมเคยนิยมสูงสุด แต่อะไรก็ไม่แน่นอน
เนื่องด้วย โควิดกับอากาศหนาวเป็นของคู่กัน กรณี การจัดการเรื่องวัคซีนยังไม่ครบถ้วน ยังมีความเป็นไปได้ที่สถาณการณ์ระบาด โควิด และฝุ่น จะกลับมาอีกครั้ง กรณี บ่าวสาวทั้งที่เป็นบ่าวสาวใหม่ หรือบ่าวสาวที่เลื่อนงานแต่ง ทีมที่ปรึกษา แนะนำให้เลี่ยงงานแต่งในเดือนนี้ เป็นดีที่สุดครับ

เป็นแนวทางการวางแผนการจัดงานในเบื้องต้นนะครับ โควิดเป็นเหมือน อุปสรรคและบทสอบ การเริ่มต้นชีวิตคู่ แม้งานแต่งจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือเลื่อนออกไป แต่ความรักและความดีที่มีต่อกันไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปได้ ค่อยวางแผนอย่างให้โควิดกระทบความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันนะครับ สำหรับบ่าวสาวทันใดที่อยากแต่งปีนี้แต่ไม่รุ้จะเริ่มยังไง สอบถามทางทีมงานได้ ยินดีให้บริการมากๆครับ

จัดงานแต่งที่บ้านต้องเริ่มอย่างไร
จัดงานแต่งงานที่บ้าน มีขั้นตอนอะไรบ้าง เป็นคำถามของบ่าวสาว ที่ต้องการวางแผนใช้บ้าน ของตัวเอง คุณพ่อ คุณแม่ เป็นสถานที่จัดงาน วันนี้ Bung Joke Arayaweddingplanner.com จะมาเล่าให้ฟังว่า การจัดงานแต่งที่บ้าน สิ่งที่ควรทำจริงๆคืออะไร และ ต้องเริ่มอย่างไร
1.ทำบ้านให้เหมือนโรงแรม เริ่มต้นด้วย Floorplan
ไม่ใช่การทำให้บ้านหรูหราเหมือนโรงแรม แต่ทำให้ การระบุรายละเอียดต่างๆเหมือนโรงแรม ซึ่งก็คือการทำ floor plan ที่ชัดเจน เพื่อหา Maximum guest ของบ้านเรา สำหรับการจัดเลั้ยงแต่ละแบบ เมื่อเราไปโรงแรม เราจะรู้ตัวเลขจากฝ่ายขายทันทีว่า โรงแรมหรือ สโมสรแห่งนี้ รองรับคนแบบโต๊ะจีน หรือบุฟเฟต์ได้เท่าไหร่ ตัวบ้านเราเองก็เช่นกัน ดังนั้นการวางแผนโต๊ะจึงเป็นเรื่องแรกๆที่ต้องระบุว่า จริงๆบ้านเรา รองรับแขกได้กี่คน
มีหลายคนของบ่าวสาวที่ข้ามข้อนี้ไปและต้องมาตามแก้ทีหลังเช่น บ้านรองรับแขกจริงๆได้ 150 แต่ประเมินด้วยตา เข้าใจว่าบ้านรองรับแขกได้ 300 เมื่อเชิญ 300 งานก็ล่มเป็นต้น จุดเริ่มต้นแรกที่ต้องทำ เมื่อใช้บ้านที่ไม่เคยจัดงานเป็นสถานที่จัดงานคือ วาง floorplan เพื่อหา Maximum guest ของบ้าน นั่นเอง

2.คำนวนหา guest list ที่ไม่เกิน ศักยภาพของบ้าน
ถัดมาคือ การวางแผนจำนวนแขก ว่าเราต้องการเชิญแขกเท่าไหร่ กี่รายชื่อ และ รายชื่อ นำไปสู่ จำนวนหัวทั้งหมดเท่าไหร่ ตัวเลขในส่วนนี้ จะต้องทำอย่างระมัดระวัง เพราะ ส่วนใหญ่แล้ว 90% ของบ่าวสาว คำนวณแขก ผิดพลาด สามารถทำความเข้าใจการว่าทำไม เราถึงคำนวณแขกคิดพลาดได้ จากการเข้าใจ หลักคำนวนแขกงานแต่งให้พอดี ด้วยการเข้าใจกระดุม 3 เม็ด และการใช้เครื่องมือวางแผนรายชื่อแขกอย่างถูกต้อง รายชื่อแขกที่เชิญ จะต้องไม่เกิน ความสามารถรองรับแขกของตัวบ้านเรานั่นเอง

3.วางแผนรูปแบบงาน
เมื่อผ่านสองข้อแล้ว มาถึงขั้นตอนทั่วไป นั่นคือ เราจะใช้บ้านจัดงานอะไร เช่น จัดงานพิธีทางศาสนาอย่างเดียวแล้วทานอาหารเลย หรือ จัดงานพิธีทางศาสนา แล้วมีต่อเนื่องจัดเลี้ยงและมีขอบคุณแขกเล็กๆ หรืออื่ๆนเป็นต้น การวางรูปแบบงาน นี้ จะง่ายขึ้น ถ้าเราวาง floorplan มาตั้งแต่ช่วงแรก เพราะสามารถออกแบบว่า ฟังก์ชั่นต่างๆจะอยู่ตรงไหนได้บ้าง เช่น โซฟาเซตสำหรับทำพิธี stage ขนาดเล็ก Blackdrop โต๊ะลงทะเบียนเป็นต้น เมื่อเรา

4.วางกำหนดการณ์
เป็นการขยายว่า เราใช้รูปแบบงานไหน และ ในแต่ละรูปแบบงานมี ขั้นตอนหรือกำหนดการณ์อะไรบ้าง เป็นการออกแบบกำหนดการณ์ โดยละเอียด ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไหร ใช้อะไรบ้าง กำหนดการณ์ที่ดี ต้องไม่ตึงเกินไป หรือหย่อนเกินไป ต้องยืดหยุ่น บ่าวสาวหลายคนวางกำหนดการณ์ผิดพลาด เพราะไม่สามารถจัดลำดับความสำคัญของสิ่งต่างๆได้ และไม่เข้าใจว่า สิ่งที่ทำต่างๆนั้น มีความหมายหรือเป้าหมายจริงๆว่าอย่างไร เมื่อเกิด เหตุไม่คาดฝันทำให้ ไม่สามารถประยุกต์ ปรับเปลี่ยนตามหน้างานได้ ที่สำคัญ การออกแบบกำหนดการณ์นั้น ห้ามลอกคนอื่น เราอาจจะดูเป็นแนวทางได้ แต่กำหนดการณ์ที่ดี และ ถูกต้อง จะสอดคล้องไปกับวัฒนธรรม mindset สิ่งแวดล้อมของแต่ละครอบครัว ซึ่งต้องอาศัยความเข้าใจในการออกแบบงาน

5.จัดหาฟังก์ชั่นต่างๆ
ถึงเวลาที่เราจะเริ่ม จับจ่ายใช้สอย สิ่งต่างๆ โดยอาศัยข้อมูลจาก กำหนดการณ์ที่ชัดเจน เช่นโซฟาเซต การตกแต่งสถานที่ ของรับสลาม รับไหว้ พานรองสินสอดหรืออื่นๆ ตรงนี้เป็นข้อผิดพลาดของบ่าวสาว หลายคู่ ถ้าสังเกต บ่าวสาวส่วนใหญ่จะเริ่มจากซื้อแพ็กเก็จข้าวของต่างๆ เป็นลำดับแรก ซึ่งคือข้อ 5 และ เมื่อ วางกำหนดการณ์ต่างๆ แล้ว สิ่งที่เจอกลับพบว่าเกินความจำเป็น ไม่จำเป็น หรือไม่ได้ใช้เลย นำไปสู่การทะเลาะเบาะแว้งกัน ระหว่างบ่าวสาว ครอบครัว หรือแม้แต่ทะเลาะกันเรื่องค่ามัดจำระหว่าง บ่าวสาวกับ ผู้ขายเป็นต้น ดังนั้น ฟังก์ชั่นจึงเป็นเรื่องสุดท้าย ไม่ใช่เรื่องแรก อย่างที่เราเข้าใจผิดกันมาตลอดนั่นเอง

บทสรุป
เป็นข้อมูลเบื้องต้นนะครับสำหรับการจัดงานแต่งงานที่บ้าน การจัดงานแต่งที่บ้าน เหนื่อยที่สุดต้องใช้พลังงานมากที่สุด โดยเฉพาะการจัดเตรียมมบ้านให้พร้อมรับแขก แต่ข้อดีคือ ประหยัดค่าสถานที่ได้ในความรู้สึกของผู้จัดเป็นต้น อย่างไรก็ดี ถ้าต้องการการจัดงานแต่งที่ให้ความรู้สึกเหมือนจัดที่บ้าน ราคางบประมาณต่ำกว่าการจัดที่บ้าน ใช้เวลาน้อยกว่าการจัดที่บ้าน ตามภาพตัวอย่างทั้งหมด แนะนำสอบถามทีมงาน ได้เลยนะครับ เรามีบริการที่ชื่อว่า PrivateNigah Private Wedding โดยรองรับแขก ตั้งแต่ 30-60 คนในบรรยากาศบ้านสวนเล็กๆอบอุ่น แล้วเจอกันครับ หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์นะครับ

อย่าให้การจัดงานแต่งงานทำให้คุณรักกันน้อยลง
อย่าให้การจัดงานแต่งงานทำให้คุณรักกันน้อยลง
เพราะรักกันจึงแต่งงานกัน และจัดงานแต่งงาน เพื่อประกาศความรักนั้น แต่หลายครั้งที่ระหว่างที่เราจัดงานแต่งงานการจัดงาน กลับทำให้เรารักกันน้อยลง เพราะอะไร? เราต้องเข้าใจธรรมชาติของการแต่งงานก่อนว่า การจัดงานแต่งงาน มันเป็นการรวมตัวทำกิจกรรมครั้งแรกของ สองครอบครัว นอกจากตัวบ่าวสาว คุณจะถูกความรัก ของสองครอบครัว ถาโถมเข้ามา รวมทั้งคำถามต่างๆ ความสงสัย ความไม่ไว้ใจ ความไว้ใจ การสนับสนุน ความยินดี ความกังวล การท้าทาย ความมั่นใจ ความหวัง การคาดหวัง ของทุกๆฝ่ายรอบตัวคุณจะถาโถมเข้ามา ปนเปไปหมดทั้งพลังที่เป็นบวก และพลังที่เป็นลบ เมื่อคุณเริ่มจัดงานแต่งงาน ถ้าเราตั้งหลักไม่ดี การแต่งงานที่ตอนแรกเป็นเรื่องตื่นเต้นและสนุก อาจทำให้คุณรักกันน้อยลง และสะดุดลงได้ในท้ายที่สุด
ผมจึงมักเตือนบ่าวสาวที่มาปรึกษาผมเสมอว่า
การจัดงานแต่งงานมันคือการทดสอบความรักของเรา และการเป็นครอบครัวใหม่
ว่ามันแข็งแรงพอไหม
แล้วมีวิธีรับมือกับ สิ่งที่ถาโถมเข้ามาโดยเฉพาะพลังด้านลบอย่างไร?
พ่อตา แม่ยาย ไม่ชอบหน้า เพราะหวังว่าลูกสาวจะได้พบคนที่มีฐานะดีกว่า
ญาติพี่น้องไม่เห็นด้วยกับงานแต่งงาน เพราะต่างศาสนากัน หรือ ปัญหาเรื่องสินสอด การแบ่งเงินใครจ่ายส่วนไหน และอื่นๆอีกมากมาย
ที่น่าสนใจคือ หลายปัญหาที่คิดว่าเป็นปัญหาเฉพาะของเรา ทำไมเราถึงโชคร้ายแบบนี้ ในทางกลับกัน มันเป็นปัญหาที่เกิดขึ้น แทบจะหลายๆครอบครัว เพียงแต่ ไม่มีใครมาเล่าสู่กันฟังเพราะมันเป็นปัญหาภายใน เราจึงได้เห็นแต่ภาพที่สวยงามของงานแต่งซึ่งภาพด้านหน้าเท่านั้น และทำให้เราเข้าใจผิดไปว่า คู่อื่นๆราบรื่นและไม่มีปัญหาทั้งๆที่ในความเป็นจริง คู่เหล่านั้นก็ต้องต่อสู้อะไรมากมายไม่แพ้เราเลย
เมื่อเจอปัญหา ที่ถาโถมเข้ามาเมื่อเริ่มจัดงานแต่ง จงจำไว้เสมอว่า
“คู่ของคุณปกติเหมือนคู่อื่นๆ”
คู่ของคุณไม่ได้ผิดปกติ ปัญหาที่คุณเจอไม่ได้หนักหนากว่าคู่อื่นๆ และคุณถูกทดสอบแบบเดียวกันกับคู่รักทุกคู่ที่ผ่านมันไปได้ จงจำคำแนะนำนี้ไว้ให้ดี คู่ของคุณไม่ได้โดดเดี่ยวเลย เมื่อเจอปัญหาจงแสดงให้เห็นว่าคุณทั้งคู่เป็นทีมเดียวกัน ฟังความเห็นของกันและกัน จงอย่าเป็นตัวแทนของครอบครัวของตัวเองมาทะเลาะกับคนรัก จงแสดงให้เห็นว่าคุณเป็นทีมเดียวกัน
และอย่าละเลยทิ้งความความคิดเห็น ความรู้สึกของผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย ไม่ว่าท่านจะรักเราหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อเรารักลูกชายและลูกสาวของเค้าจงแบ่งปันความรัก ให้ครอบครัวเค้าด้วยแล้วปัญหาต่างๆจะแก้ไขได้เอง
อย่าให้การแต่งงานทำให้คุณรักกันน้อยลง แต่จงทำให้คุณรักกันมากขึ้น เจอกันคิวถัดไปครับ

บทความหลังแต่งงานอิสลาม
การดูแลครอบครัวพหุวัฒนธรรมด้วยหลักการอิสลาม
บันทึกการให้ธรรมโอวาทของญาติผู้ใหญ่ในหัวข้อ “การดูแลครอบครัวพหุวัฒนธรรมด้วยหลักการอิสลาม”
ขอความสันติสุขใหเกิดขึ้นกับ พี่น้องทุกคน วันนี้ ผมในฐานะตัวแทนครอบครัวฝ่ายเจ้าบ่าว จะขออนุญาติเป็นตัวแทนของทั้งสองครอบครัว กล่าวธรรมโอวาท ถึงความสำคัญของการดูแลครอบครัว ที่อยู่ร่วมกันอย่างเป็นพหุวัฒนธรรมของเจ้าบ่าวเจ้าสาว ตามหลักการของศาสนาอิสลาม เพื่อให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวมีความรู้ความเข้าใจในการ ดำเนินชีวิตครอบครัวหลังจากนี้ได้อย่างมั่นคง
ประการแรก ครอบครัวเป็นรากฐานของสังคม และความสุขของครอบครัวเป็นองค์ประกอบสำคัญ ที่จะนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี ตามหลักการศาสนาอิสลาม เจ้าบ่าวเจ้าสาว มีหน้าที่รับผิดชอบร่วมกันเพื่อให้แน่ใจว่าครอบครัวของเค้าทั้งสอง และญาติพี่น้องไม่ว่าจะแตกต่างทางศาสนา ทางวัฒธรรม หรือไม่ก็ตาม เมื่อมาเป็นครอบครัวเดียวกันแล้ว ครอบครัวทั้งสองจะได้รับการดูแลและ สร้างสภาพแวดล้อมที่ดี เพื่อหล่อเลี้ยงสมาชิกในครอบครัวให้มีความมั่นคงปลอดภัย
ประการที่สอง ทั้งสองคน จงมั่นแสดงการให้เกียรติ ให้ความเคารพ และความรักต่อสมาชิกในครอบครัวของเราเสมอ ซึ่งรวมถึงไม่เพียงแต่ครอบครัวใกล้ชิดของเราเท่านั้น แต่ยังรวมถึงครอบครัวขยาย เพื่อนบ้าน และมิตรสหายของเราด้วย ไม่ว่าจะแตกต่างทางศาสนากันหรือไม่ก็ตาม เราควรระลึกไว้เสมอว่าอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้ทรงบัญชาให้เราปฏิบัติต่อผู้อื่นเช่นเดียวกับที่เราประสงค์จะปฏิบัติต่อตนเอง
ประการที่สาม เจ้าบ่าวเจ้าสาวควรให้ความสำคัญกับการสื่อสารภายในครอบครัว ควรใช้เวลาในการรับฟังซึ่งกันและกัน แก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสันติ แสดงความเห็นอกเห็นใจและเข้าใจซึ่งกันและกัน สิ่งนี้สามารถทำได้ด้วยการพูดคุยในครอบครัว รวมทั้ง การไปมาหาสู่ซึ่งกันและกันในหมู่เครือญาติทั้งสองศาสนาอย่างสม่ำเสมอ และไม่หลงลืมการแสดงความขอบคุณและชื่นชมซึ่งกันและกัน
สุดท้ายนี้ การแต่งงานและเปลียนผ่านศาสนาไม่ใช่เรื่องง่าย เจ้าบ่าวจงตระหนักถึงข้อสำคัญนี้และให้ความเคารพครอบครัวเจ้าสาว อย่าทำให้เสียน้ำใจ จงดูแลพ่อแม่ทั้งสองฝ่ายอย่าให้ขาดตกบพร่อง ควรจำไว้ว่าครอบครัวของเราเป็นของขวัญจากอัลลอฮ์ (ซ.บ.) และเราควรดูแลพวกเขาด้วยความเอาใจใส่ด้วยความรักและความเมตตา ตามหลักการศาสนาอิสลาม และเมื่อยึดสิ่งนี้ เราสามารถสร้างครอบครัวที่เข้มแข็งได้อย่างมั่นคง

You must be logged in to post a comment.