ความรู้เบื้องต้นอิสลาม

บทความเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้น ตามหลักการของศาสนาอิสลาม เกี่ยวกับ แนวคิด คุณธรรมความดี หลักปฏิบัติต่างๆ ประวัติศาสตร์ ประเพณี อื่นๆ

Visual Portfolio, Posts & Image Gallery for WordPress

ประวัติศาสตร์การแต่งงาน และ การมีภรรยา 4 คน

การแต่งงาน เป็นเรื่องโรแมนติก ระหว่าง ชายและหญิงที่มีความรักต่อกัน แต่ในความเป็นจริง มันมีเรื่องราว ยาวนานกว่านั้นมาก และ แท้จริงแล้วจุดเริ่มต้นของการแต่งงาน ไม่ใช่ความรัก แต่เป็น การจัดการทรัพย์สิน การส่งต่อมรดกและครอบครัว เมื่อเราพูดถึงการแต่งงาน เรากำลังพูดถึงกฏหมายอย่างเลี่ยงไม่ได้

และการเข้าใจเรื่องนี้ นอกจากจะช่วยคุณเข้าใจ คอนเซปของการแต่งงานในปัจจุบัน และง่ายต่อการวางแผนชีวิตคู่แล้ว ยังนำไปสู่การเข้าใจ วัฒนธรรมของอิสลามด้วย

ในอารยธรรมโบราณ (Ancient) เป็นยุคที่ผู้หญิงถูกมองเป็นทรัพย์สิน การแต่งงานเป็นเรื่องการเชื่อมโยงระหว่างเผ่า การรักษาความมั่นคงของเผ่า การแต่งงานในยุคนี้เป็นการแต่งงานแบบ ชายหนึ่งหญิงไม่จำกัด เป็นหลัก ศาสนาต่างๆในยุคนี้ (คริสต์ ยิว พุทธ อื่นๆ) ไม่มีการห้ามการแต่งงานโดยมีผู้หญิงมากกว่าหนึ่งคน ผู้ชายยังครอบครองนางบำเรอ และทาสได้ไม่จำกัด

ในยุคกลาง การแต่งงาน ในชนชั้นสูงมีขึ้น เพื่อเหตุผลทางการเมือง การส่งต่อและจัดการทรัพย์สมบัติ การเพิ่มที่ดิน และศักดิ์ การแต่งงานในยุคนี้เป็นการแต่งงานแบบ ชายหนึ่งหญิงไม่จำกัด เป็นหลัก ผู้ชายยังครอบครองนางบำเรอ และทาสได้ไม่จำกัด

ในศตวรรษที่ 4 นักบวช และโบสต์คริสต์ในโรมันเริ่มมีการพูดถึงการแต่งงานชายหนึ่งหญิงหนึ่ง เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น พัฒนาขั้นตอนต่างๆของการแต่งงานมากขึ้น แต่สังคมโดยรวมยังเป็น การแต่งงานแบบมี ภรรยาหลายคน มีนางบำเรอ และทาสหญิงตามปกติ และการหย่าไม่ถูกยอมรับด้วยเหตุผลทัง้ปวง

ในพื้นที่ยุโรป และ ในพื้นที่อาหรับ โรม เปอร์เซียน ยุคก่อนศาสนาอิสลาม เป็นยุคฟรีเซ็กซ์โดยสมบูรณ์ การแต่งงานเป็นแบบชายหนึ่งหญิงไม่จำกัด ผู้ชายมีความสัมพันธ์กับทาสได้โดยไม่ต้องแต่งงาน และ ชายหนึ่งคน มีภรรยาได้หลายคน , มีนางบำเรอ และทาสหญิงได้หลายคน เกิดปัญหา เด็กกำพร้า ปัญหาสังคมมากมาย

ในศตวรรษที่ 7 เป็นยุคเผยแพร่อิสลามในอาหรับ อิสลามบังคับให้ผู้ชายในยุคนั้น มีภรรยาได้ ไม่เกิน 4 คน, โดยกำกับว่าถ้ารักษาความยุติธรรมและความเท่าเทียมไม่ได้ ให้มีคนเดียวเท่านั้นและถ้ายังกำหนัดจนควบคุมตัวเองไม่ได้ ก็ให้ละหมาด และถือศีลอด , อีกทั้งยังบังคับว่า กรณีมีสัมพันธ์กับทาส ต้องผ่านการแต่งงาน ทำให้อาหรับในยุคนั้นมีจำนวนทาสลดลงจากการแต่งงาน นอกจากนี้อิสลามยังทำลายระบบนางบำเรอ -เกิดการปฏิวัติสถานะครอบครัวขนาดใหญ่ในโลกอาหรับ และขยายออกไป ยังอาณาจักรโดยรอบ, การวางระบบครอบครัว ทำให้สังคมเป็นปึกแผ่น

ที่น่าสนใจคือ ผู้หญิงอาหรับในยุคนี้ได้รับสิทธิในการครอบครองทรัพย์สิน , สิทธิในการหย่ากรณีพบว่าชีวิตแต่งงานไม่มีความสุข(ซึ่งผู้หญิงในยุโรปได้รับในอีก 1,300 ปีให้หลัง) สิทธิในการถือครองธุรกิจ และเลือกการแต่งงานใหม่ ในขณะช่วงเวลาเดียวกันนั้นที่ยุโรป ผู้หญิงยังถูกนับเป็นทรัพย์สินและมีสิทธิน้อยมากในการดำเนินชีวิต เช่นไม่สามารถถือครองทรัพย์สินหรือ มีธุรกิจได้ ไม่สามารถมีการศึกษา และการหย่าเป็นเรื่องต้องห้าม

อยางไรก็ดี ทั้งอาหรับและยุโรป ผู้หญิง ยังไม่สามารถเข้าสู่การเมือง และอำนาจรัฐได้ เป็นยุคเฟื่องฟูสั้นๆก่อนค่อยๆเสื่อมลง หลังจากการจากไปของศาสดา ซึ่งแนวคิดเหล่านี้ไม่มีเป็นที่ปรากฏในวัฒนธรรมอื่นๆของโลกในเวลาเดียวกัน

ศควรรษที่ 13(600 ปีต่อมา) สมัยสุโขทัยเริ่มมีกฏหมายเกี่ยวกับการแต่งงาน แต่เป็นการพูดถึงครอบครัว อำนาจของบิดา ผู้หญิงไม่มีบทบาทในครอบครัวหรือสังคม ไม่มีการแบ่งทรัพย์สิน มีแต่ตกทอดให้บุตร

ศตวรรษที่ 14 อยุธยาเริ่มมีกฏหมายสามีภรรยา ,โดยสามีมีภรรยาหลายคนได้ แต่ ภรรยามีสามีหลายคนไม่ได้

ในศตวรรษที่ 15 โบสต์คริสต์ของ โปแตสแตนท์ เริ่มขับเคลื่อน แนวคิดการแต่งงานชายหนึ่งหญิงหนึ่งอีกครั้ง และเริ่มมีการพูดถึงสิทธิของผู้หญิงมากขึ้นในยุโรป แต่ยังยึดมั่นเรื่องการหย่าและภาพรวมผู้หญิงยังเป็นทรัพย์สิน ถือครองธุรกิจไม่ได้

ในศตวรรษที่ 19 การปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้เกิดชนชั้นกลางขึ้นเป็นจำนวนมาก ผู้หญิงเข้าสู่ภาคแรงงาน เป็นยุคที่เกิด concept ของการแต่งงานใหม่ ที่เรียกว่า “Romantic Love” ผุ้คนในยุคนี้เริ่มแต่งงาน “เพราะความรัก” มากกว่าเหตุผลด้านการเงินและการเมือง เป็นยุคแรกที่ผู้หญิง ยุโรป เริ่มมีสิทธิถือครองทรัพย์สิน ธุรกิจ และจัดการร่างกายของตัวเองได้ทั้งหมด เป็นยุคที่การแต่งงานแบบชายหนึ่งหญิงหนึ่งเริ่มเป็นกฏหมาย ในยุคนี้ ขณะนั้น ประเทศไทยยังเป็นระบบชายหนึ่งหญิงไม่จำกัด มีระบบทาส ได้มีการนำแนวคิด ชายหนึ่งหญิงหนึ่งเข้ามาในหมู่ชนชั้นสูงของประเทศไทย แต่โดนโต้กลับด้วยอ้างแนวคิดทางพุทธศาสนา

ในศตวรรษที่ 20 การแต่งงานโดยรวมมีการพัฒนาขึ้น ผู้หญิงเรียกร้องสิทธิทางครอบครัวมากขึ้นโดยเฉพาะ การหย่า เพื่อ เรียกแก้ไข การแต่งงานที่ไม่มีความสุข ประเทศไทยเริ่มยอมรับเรื่องนี้ในปี คศ 1932 (2475 ประเทศไทยรับแนวคิดการแต่งงานแบบชายหนึ่งหญิงหนึ่ง ผ่านการปฏิรูปการปกครอง) หรือ ประเทศไทย เป็นประเทศชายหนึ่งหญิงหนึ่งโดยถูกบังคับให้รับเอาวัฒนธรรมใหม่ ไม่ใช่วัฒนธรรมเดิมตามศีลธรรมอันดีของสังคมไทย

ในศตรวรรษนี้ ประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมจำนวนมากออกกฎหมายที่จำกัด การแต่งงานภรรยาหลายคน ทำให้การแต่งงานภรรยาหลายคนเป็นเรื่องผิดกฎหมายหรือต้องได้รับอนุญาตจากศาล หลักปฏิบัติของการมีภรรยาหลายคนมีหลากหลาย และยังคงเป็นที่ถกเถียงกันในหลายๆ ประเทศที่มีชาวมุสลิมเป็นส่วนใหญ่ โดยผู้นำศาสนาและนักวิชาการบางคนเรียกร้องให้มีการปฏิบัติต่อไป และคนอื่นๆ เรียกร้องให้เลิกใช้

ในศตรวรรศที่ 22 การแต่งงานแบบชายหนึ่งหญิงหนึ่ง ถูกยอมรับเป็นเรื่องปกติของสังคมโดยทั่วไป

การเข้ารับอิสลาม สำหรับมุสลิมใหม่ ฉบับเข้าใจง่าย

การเข้ารับอิสลามและเป็นมุสลิมใหม่นั้น มีขั้นตอนไม่ยากเลย ที่บอกว่ามีขั้นตอนไม่ยาก เพราะถ้าอธิบายสรุปขั้นตอนให้สั้นมันจะมีแค่สองขั้นตอนคือ  ขั้นที่หนึ่งคือทำจิตใจให้สงบให้รู้ว่าตัวเองกำลังจะพูดอะไร ขั้นที่สองพูดประโยคหนึ่งประโยคหนึ่งที่เรียกว่า”คำปฏิญาณตน”ออกมา  เท่านั้นจบ นี่คือขั้นตอนการเข้ารับอิสลามเป็นมุสลิมใหม่ ง่ายๆสั้นแบบนี้นี่เอง  คำปฏิญาณที่ต้องกล่าวนั้นคือ   “อัชฮาดุอัล  ลาอิลา ฮะอิล ลัลลอฮฺ   วะอัช ฮาดุอัน นะมุหัมมะดัร รอซูลุลลอฮฺ”ซึ่งมีความหมายว่า

 “ฉันขอปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และฉันขอปฏิญาณว่า มุหัมมัดคือศาสนทูตของพระองค์”

หลังกล่าวคำปฏิญาณนี้จบ คุณก็เป็นมุสลิมใหม่

 

https://youtu.be/RbIHzhKy8VI

การเข้ารับอิสลามจำเป็นต้องมีเอกสาร หรือพยานไหม?

อย่างไรก็ดี แม้การเข้ารับศาสนาอิสลามแม้ในทางปฏิบัติไม่จำเป็นต้องมีพยาน เพราะเป็นเรื่องระหว่างคุณกับอัลลอฮ์ แต่การมีพยานจำเป็นทันทีเมื่อ คุณต้องการ “เอกสาร” เพื่อใช้ในทางกฏหมาย และถ้าคุณต้องการเอกสารตามกฏหมายก็จะมีเรื่องเอกสารเพิ่มเติมเข้ามาอีกเป็นต้น   อีกแง่มุมเกี่ยวกับการมีพยานบุคคลคือ   การมีพยานเข้ารับอิสลาม จะทำให้คุณทำกิจกรรมทางศาสนาที่ต้องใช้ฐานะความเป็นมุสลิมของคุณได้ราบรื่นขึ้น เช่นกิจกรรมการแต่งงาน หรือการนิกะห์   ถ้าคุณมีพยานการเข้ารับอิสลามโดยเป็นผู้ใหญ่ที่ครอบครัวฝั่งมุสลิมรู้จัก  จะช่วยให้การแต่งงานของคุณราบรื่นขึ้นด้วย อย่างน้อยผู้ประกอบพิธีนิกะห์ ท่านก็ได้รุ้ว่าคุณได้เข้ารับอิสลามแล้วกับคนที่ท่านคุ้นเคย ทำให้สบายใจกันทุกฝ่ายว่าการนิกะห์นี่จะถูกหลักศาสนาแน่นอน นั่นเอง 

วิดิโอตัวอย่างการเข้ารับมุสลิมใหม่ แบบมีพยานและเอกสาร โดย อาจารย์ บรรจง บินการซัน มูลนิธิสันติชน

https://youtu.be/RNw2I5gyuM0

 

 

สุดท้ายการเข้ารับอิสลาม กับการเรียนรู้อิสลาม เป็นคนละความหมายกัน การเข้ารับอิสลาม แม้มีขั้นตอนที่กระชับและง่าย แต่การเรียนรู้อิสลาม ต้องเรียนรู้กันตลอดชีวิตนะครับ เป็นกำลังใจให้ว่าที่มุสลิมใหม่ทุกคนครับ

ตัวอย่างเอกสารรับรองการเข้ารับอิสลามหาจากไหน?

แบบรับรองการเข้ารับอิสลาม สามารถดาวโหลดได้จาก เว็บไซต์ ของสำนักจุฬราชมนตรี หรือ  สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร  โดยคลิกได้ที่ลิงค์นี้

แบบรับรองการเข้ารับอิสลาม

 

 

อยากจัดงานแต่งอิสลาม แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไง?

นิกะห์ คืออะไร? และทำอย่างไร? ฉบับเข้าใจง่าย

นิกะห์ คือ การแต่งงานระหว่างผู้ที่เป็นมุสลิม เป็นการแต่งงานตามหลักการของศาสนาอิสลาม ถ้าเทียบให้เห็นภาพคือ  การนิกะห์คือการแต่งงานในวัฒนธรรมอิสลาม เปรียบเทียบเช่น คนพุทธมีงานเช้าพิธีรดน้ำสังข์ คนคริสต์มีแต่งในโบสต์ต่อหน้าบาทหลวง  มุสลิมก็มีการนิกะห์ ซึ่งคือการแต่งงานตามหลักศาสนานั่นเอง

องค์ประกอบของการนิกะห์

องค์ประกอบที่ทำให้การนิกะห์สมบูรณ์มีด้วยกัน 5 ประการดังนี้

  • – เจ้าบ่าวและเจ้าสาว (เป็นมุสลิมด้วยกัน)
  • – วะลีย์ (ผู้ปกครองฝ่ายเจ้าสาว โดยกำเนิดหรือ โดยแต่งตั้งชั่วคราว) 
  • – คำกล่าวเสนอ-สนองแต่งงาน (ระหว่างผู้ปกครองเจ้าสาว และเจ้าบ่าว ) 
  • – ผู้ร่วมเป็นพยานในการแต่งงาน (ต้องเป็นผู้ชาย 2 คน ขึ้นไป)
  • – ของขวัญแก่เจ้าสาว (เรียกว่า มะฮัร หมายถึงสินสอดทองหมั้น)

เมื่อองค์ประกอบครบตามนี้การนิกะห์ หรือการแต่งงานอิสลามก็จะสมบูรณ์

บรรยกาศการนิกะห์ โดยท่านอาจาร์ย อาลี เสือสมิง

สถานที่จัดงานนิกะห์

สถานที่จัดงานนิกะห์ สามารถจัดที่ไหนก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสะดวกของเจ้าภาพ โดยนิยมจัดตั้งแต่ ที่บ้านของเจ้าบ่าวหรือเจ้าสาว สุเหร่า หรือ โรงแรมที่รองรับ เอาภาพตัวอย่างการจัดนิกะห์ ที่ดูแล โดย ทีมงาน Ara-ya มาฝากครับ

แต่งงานอิสลาม สวมแหวนได้ไหม รับไหว้ได้ไหม ขันหมากได้ไหม ? และอื่นๆ

ก่อนจะตอบคำถามนี้ต้องเข้าใจก่อนว่า ในการจัดงานแต่งงานจะมีสองส่วนคือ ส่วนที่เป็นตามหลักศาสนาเรียกว่าการนิกะห์ และส่วนที่เป็น วัฒนธรรมการแต่งงานของสังคมๆนั้นๆ เช่นการเลี้ยงฉลองอาหารหลังเสร็จการนิกะห์เป็นต้น หรือวัฒนธรรมร่วมสมัยเช่นการสวมแหวน การหมั้นหละ การสู่ขอหละ ?   คำตอบของคำถามนี้ จึงไม่สามารถตอบตัวได้ตายตัว และมีตัวแปรของ สังคมวัฒนธรรมรอบตัวของเจ้าบ่าวเจ้าสาวต่างๆกันเป็นรายคู่ไป จากประสบการณ์จัดงานแต่งงานมาร่วมสิบปี  แม้แต่สังคมมุสลิมด้วยกันแต่งงานกัน ในบางรายละเอียดก็ตอบคำถามนี้ไม่ตรงกันเช่นกัน แล้วอะไรคือคำตอบที่ถูกต้อง? ที่studio จะมีทีมงานให้คำปรึกษาในเรื่องต่างๆ รวมทั้งวิธีแก้ปัญหา ทางออกและออกแบบ งานแต่งงานที่เหมาะสมตามแต่ละคู่ไป ซึ่งสามารถสอบถามเข้ามาได้นั่นเองครับ

เป็นคนพุทธ จะนิกะห์ต้องเริ่มอย่างไร?

กรณีเป็นคนพุทธ แต่งงานกับมุสลิม จะนิกะห์ ต้องเริ่มอย่างไร อย่างแรก ที่ควรทำคือ การเข้ารับอิสลามให้เรียบร้อยก่อนวันงาน  เนื่องจากเงื่อนไขการนิกะห์ ข้อแรกคือ เจ้าบ่าวเจ้าสาวจะต้องเป็นมุสลิมด้วยกันทั้งคู่  การเข้ารับอิสลามให้เรียบร้อยก่อนวันนิกะห์ แต่เนิ่นๆมีข้อดีหลายอย่างโดยเฉพาะกับเจ้าสาว  เนื่องจาก ในพิธีนิกะห์ พิธีการส่วนใหญ่จะตกอยู่ทางฝั่งเจ้าบ่าว ถ้าเจ้าสาวเปลี่ยนศาสนาเรียบร้อยแล้วก็จะตัดความกังวลใจในวันงานไปได้อีกหลายอย่าง เนื่องจากกิจกรรมทางศาสนาที่เกี่ยวข้องกับเราจะลดลงไป  กรณีไม่รู้จะเริ่มอย่างไร สามารถติดต่อปรึกษากับทางทีมงานได้ ทาง Studios มีทีมงานคอยให้คำปรึกษาตั้งแต่เริ่มต้นครับ ให้กำลังใจอีกนิด บ่าวสาวในตัวอย่างทั้งหมดของทางร้านเป็นคู่พุทธที่แต่งเข้าอิสลาม และยังมีอีกหลายร้อยคู่ ดังนั้นไม่ต้องกังวลใจ ถ้าเปิดใจทุกอย่างจะเรียบร้อยแน่นอน เป็นกำลังใจให้ครับ เจอกันคิวถัดไปนะครับ

อยากจัดงานแต่งอิสลาม แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไง?