เชื่อว่าหลายคนๆอาจเคยพบกับการตั้งคำถามนี้ไม่มากก็น้อย
คำตอบคืออะไรเราจะเข้าใจภาพรวมมากขึ้น ถ้าเราเข้าใจความหมายของการแต่งงาน


การแต่งงาน คือ รูปแบบการทำพันธะสัญญาต่อกันระหว่างคู่สมรส
รูปแบบการแต่งงานมีหลายแบบ
การแต่งงานตามกฏหมาย
การแต่งงานตามจารีต-ศาสนา

สาเหตุที่ต้องทำพันธะสัญญาต่อกันนั้น
เพราะ เมื่อชาย หรือหญิงแต่งงานกัน
จะมีภาระหน้าที่บางอย่างต่อกัน แตกต่างกันไปแต่ละประเภทของการแต่งงาน

พันธะสัญญานี้ จะเริ่มมีความจำเป็นมากขึ้น
เมื่อชีวิตครอบครัว เข้าสู่ภาวะที่มีความขัดแย้งหรือปัญหา

เช่น

เมื่อแต่งงานแล้ว ติดขัดภาวะทางการเงิน
การพิจารณาภาระหน้าที่ของการหาเลี้ยงครอบครัวนั้น
เป็นหน้าที่ของฝ่ายใด
เมื่อภรรยามีบุตรการสนับสนุนช่วยเหลือภรรยานั้นจะต้องทำอย่างไร
เมื่อ เกิดความอธรรมในชีวิตคู่นั้น จะใช้หลักการอะไร
เข้ามาจับหรือแก้ปัญหา พันธะสัญญาที่ต่างกัน คำตอบก็จะต่างกัน

เรามักจะเข้าใจว่า การมีชีวิตคู่นั้นเป็นเรื่องเรียบง่าย
แต่ในความเป็นจริงแล้ว การจัดการในครอบครัว
มรดก บุตร การหาเลี้ยงครอบครัวนั้น
เป็นภาระใหญ่ที่ชายและหญิงต้องบริหารจัดการให้ดี

ดังนั้นการแต่งงานจึงมีความหมายสำคัญที่ว่า
ต่อไปนี้ชายหรือหญิงนั้น จะรับผิดชอบซึ่งกันและกัน
ผ่านบททดสอบในชีวิตคู่ไปด้วยกัน ด้วยพันธะสัญญาดังกล่าว

แต่ละคนนั้นมีวิถีชีวิต วัฒนธรรม ศาสนาที่นับถือ
ทรรศนะการดำเนินชีวิต แตกต่างกันไม่มากก็นอ้ย
เมื่อจัดงานแต่งงานกันแล้วนั้น ก็ต้องอยู่แต่ละครอบครัว
จะเลือกพันธะสัญญาแบบไหน ซึ่งต้องเลือกด้วยตัวเอง
และรับผิดชอบด้วยตัวเอง

ข้อผิดพลาดใหญ่คือ การพยายามไปปรับเปลี่ยน
พันธสัญญาทางจารีต ยกตัวอย่างเช่น
พระสงฆ์ในประเทศไทย ไม่สามารถแต่งงานได้
แต่เราอยากแต่งงานกับพระสงฆ์ จึงจัดงานแต่งงานขึ้น
ตามจารีตของพุทธศาสนา แบบนี้ ไม่ใช่หลักการของพหุวัฒนธรรม
เนื่องจากการไม่ยอมรับในจารีตนั้น แล้วไปปรับเปลี่ยนเป็นต้น

ศาสนาอิสลามเองมีโครงสร้างครอบครัวที่มีความจำเพาะเช่น
ความรับผิดชอบทางการเงินของฝ่ายชายที่ต้องมีต่อฝ่ายหญิง
การจัดการชีวิตคู่และอื่นๆ และการสนับสนุนให้แต่งงานด้วยผู้ที่เข้าใจ
หลักการและคำสอนของศาสนาอิสลาม เพื่อให้สามารถใช้กติกาในชีวิตคู่เหมือนกัน ดังนั้น การแต่งงานอิสลามจึงจำเป็นต้องเป็นมุสลิมด้วยกันนั่นเอง

เราไม่ขอให้พระสงฆ์แต่งงานได้ เพราะเราเข้าใจ และยอมรับ และให้เกียรติวัฒนธรรมของศาสนาพุทธในประเทศไทย แม้เราเป็นมุสลิม
เราไม่ขอให้จัดงานแต่งงานอิสลาม โดยไม่เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามรวมทั้งเรียนรู้วิถีชีวิตของมุสลิมก่อน เพราะเรายอมรับและให้เกียรติวัฒนธรรมของศาสนาอิสลาม แม้เราเป็นพุทธนั่นเพราะเราใหเ้กียรติและเคารพในหลักการของศาสนาอื่นๆที่ไม่เหมือนกับเรา

นั่นคือพหุวัฒนธรรม เราเคารพในศาสนาอื่นๆ และเชื่อว่าทุกศาสนามีหลักการและเหตุผลของแต่ละศาสนาในตัวเอง

แต่ถ้าก็ดีถ้าชายและหญิงประสงค์จะแต่งงานโดยการไม่ใช้พันธสัญญา
ทางจารีตหรือศาสนา ก็จะต้องไปโฟกัสที่การแต่งงานด้วยพันธะสัญญาทางกฏหมาย ซึ่งประเทศไทยนั้น ไม่ได้มีข้อห้ามอย่างไรในการที่ชายและหญิงจะแต่งงานโดยไม่เปลี่ยนศาสนา

การให้ความเคารพในข้อจำกัดซึ่งกันและกัน คือ พื้นที่พหุวัฒนธรรมที่แท้จริง
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะ แต่งงานด้วย พันธสัญญาทางจารีตศาสนา หรือ แต่งงานด้วยพันธสัญญาทางกฏหมาย สิ่งที่ต้องไม่ลืมเสมอว่า เราไ่มได้อยู่แค่สองคนในโลกใบนี้

เรายังต้องหมั่นดูแลเครือญาติไปมาหาสู่ แม้เค้าจะมีความคิด ความเชื่อ หรือทรรศนะทางศาสนาที่แตกต่างกันก็ตาม ไม่มีศาสนาไหน กฏหมายข้อใดที่ห้ามมนุษย์ที่จะทำดีต่อกัน ให้เกียรติ และเคารพในความเชื่อซึ่งกันและกัน แม้ความคิด ความเชื่อนั้นจะแตกต่างจาก จงช่วยกัน พัฒนาพื้นที่ปลอดภัย ให้กับการอยู่ร่วมกัน ระหว่างครอบครัวที่มีที่มาจากต่างศาสนาให้ราบรื่นมากที่สุดนั่นคือหน้าที่ ที่เราจะทำอย่างสุดกำลัง

สุดท้ายนี้ ไม่ว่าจะมีความเชื่อทรรศนะความเห็นในการดำเนินชีวิตอย่างไร
จงมีมารยาท และรักษามารยาที่ดีเสมอ
เพราะมารยาทเป็นเครื่องสะท้อนศีลธรรมขั้นพื้นฐาน
ไม่ว่าเราจะรับนับถือหรือไม่นับถือศาสนานั่นเอง


ArayaWeddingPlanner

ArayaWeddingPlanner

www.arayaweddingplanner.com

0 Comments

ใส่ความเห็น

Avatar placeholder