HEADQUARTERS +66 089-110-941-9

Muslim Friendly Certificate Thailand (MFCT) – Siam Friendly Starndard

บทสรุปย่อการจัดทำ  Muslim Friendly Certificate (MFC) โดยภาคเอกชน

1ภูมิหลังที่ทำให้เข้าใจ เรื่องราว ปัจจุบัน

องค์กรวิจัยร่วม CresentRatint และ Mastercard ยืนยันว่าตลาดนักท่องเที่ยว มุสลิม กำลังจะเติบโต ถึง 225 ล้านคน ขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง งานวิจัยชี้ว่า ไทยเป็นประเทศที่จะเติบโตในตลาดนี้ ได้ โดยต้องเร่งเพิ่มความรู้ให้ผู้ประกอบการ ในขณะเดียวกันเราเป็นปลายทางการแต่งงานอิสลาม ที่มาแต่งงานที่ประเทศไทยและ ท่องเที่ยวต่อเนื่อง โดยมีจำนวนเพิ่มขึ้นในทุกๆปี

2ปัญหาในปัจจุบัน

ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลลุกค้ามุสลิมมีจำนวนจำกัด การเปลี่ยนบริการเพื่อรองรับฮาลาลเต็มรูปแบบ เสี่ยงสูญเสียรายได้และไม่แน่นอน   นอกจากนี้ ผู้ประกอบการไม่มีเครื่องมือในการ เพิ่มตลาดมุสลิมที่เหมาะสม   ปัจจุบันมีองค์กรศาสนาเดียวใน การออกใบรับรองทั่วประเทศ มีบุคคลากรไม่เพียงพอที่จะรองรับทั้งประเทศ และมีค่าใช้จ่ายสูงในการเข้าสู่ระบบ

3.ความเป็นไปได้ในการดำเนินการ Muslim Friendly Certificate (MFC) โดยภาคเอกชน

 รูปแบบเอกชนนำภาครัฐ และภาคการศาสนานั้น เป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นจริง ตั้งแต่ปีค.ศ 2012 เช่น Salam Standard  ที่เกิดจากบริษัทเอกชนวางเรตติ้งและสร้างมาตราฐาน MFC เมื่อเติบโตขึ้น ภาครัฐมาเลเซียการท่องเที่ยวมาเลเซีย และภาคศาสนาจึงเข้ามาสนับสนุน ผลักดันเชื่อมโยงเข้ากับ OIC และพัฒนาเป็นเอกชนระดับโลกมีโรงแรมเข้าร่วมกว่า 55,000  สร้างรายได้มหาศาลให้มาเลเซีย  MFC นั้นต้องการตัวชี้วัดที่เรียบง่ายกว่าฮาลาล เช่น มีพรมละหมาด อื่นๆ  ถูกใช้อย่างแพร่หลายในหลายประเทศเช่น ญี่ปุ่น เป็นต้น

4.ประโยชน์ต่อภาคส่วนต่างๆ

โมเดลที่พัฒนานี้  จะสร้างประโยชน์ให้ ผู้ประกอบการรวมทั้งผู้ปฏิบัติงานทุกศาสนา เพิ่มศักยภาพของประเทศไทยในการรองรับตลาดมุสลิมในบรรยากาศพหุวัฒนธรรม ตัวชี้วัดที่เรียบง่าย และมีมาตราฐาน มีค่าใช้จ่ายในการเข้าสู่ระบบเหมาะสม เพิ่มความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่าง ทุกศาสนาในประเทศไทยต่อศาสนาอิสลาม ประเทศได้รับการจัดอันดับที่ดี ในระดับโลกรวมทั้ง สร้างผลตอบแทนให้กับผู้สนับสนุน 

5.กำหนดเป้าหมาย

ภาคเอกชน พัฒนาระบบและโมเดลเฉพาะ ด้วยตัวเอง ไปพร้อมๆกับการขอการสนับสนุนเพิ่มเติมจาก ภาครัฐและ ภาคศาสนา นักการศาสนา ตั้งแต่การพัฒนาตัวชี้วัด การอบรมที่จำเป็น การออกใบรับรอง การสนับสนุนการตลาด การเชื่อมโยงกับเครือข่ายนักท่องเที่ยว   ในรูปแบบ Muslim Friendly Model โดยมีแกนที่เป็นบรรยากาศพหุวัฒนธรรม เพื่อให้ ผู้ประกอบการที่ไม่ใช่มุสลิมเข้าถึง ได้ง่ายมีค่าใช้จ่ายเหมาะสม

6.แผนดำเนินการ
สร้างตัวชี้วัด จัดอบรม ออกใบรับรอง ให้กับกลุ่มผู้ประกอบการที่มีศักยภาพสูง ในกลุ่มโรงแรม คาเฟ่ สปา โรงพยาบาล บริษัทท่องเที่ยว อื่นๆ ที่ มีความเป็นมิตรกับพหุวัฒนธรรม ในวงแคบ เพื่อรักษาคุณภาพ และขยายวงต่อไปตามเหมาะสม ควบคู่กับการขอความร่วมมือจากภาครัฐและการศาสนา

7.เกี่ยวกับผู้ดำเนินการ และผู้พัฒนาโครงการ

บริษัท อารยา นิกะห์ แพลนเนอร์ แอนด์ คอนเซาท์ จำกัดเลขประจำตัวผู้เสียภาษี   0105565138468

บริษัทให้คำปรึกษา จัดอบรม และวางแผนการตลาดมุสลิมและพหุวัฒนธรรม สำหรับผู้ประกอบการ
ออกใบรับรองการเรียนรู้ศาสนาอิสลาม เข้ารับอิสลาม จัดงานแต่งงานอิสลามต่างชาติในประเทศไทย

โครงการ การดำเนินการ Muslim Friendly Certificate (MFC) โดยภาคเอกชน

1.ภูมิหลังเรื่องราวที่ ทำให้เข้าใจสถานการณ์ปัจจุบัน


เราจะช่วยให้ผู้ประกอบการที่ไม่ใช่มุสลิม บุคลากรที่ไม่ใช่มุสลิมของประเทศไทย มีความรู้ความชำนาญ มีเครื่องมือในการดูแลลูกค้ามุสลิมจากทั่วโลกได้อย่างไร?  จากข้อมูล CrescentRating และ MASTERCARD ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่จัดเรตติ้ง Muslim Friendly โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สิงค์โปร์ ยืนยันว่า จำนวนนักท่องเที่ยวมุสลิมที่มีศักยภาพ กำลังเพิ่มขึ้น อย่างมาก ถึง 225 ล้านคน ในปี 2028 หรืออีก 4 ปีข้างหน้า และนักท่องเที่ยวเหล่านี้ กระจายตัวท่องเที่ยวทั่วโลก เพื่อรองรับตลาดนี้  ได้จัดทำ GMTI เพื่อเป็นตัวชี้วัด และ ให้คะแนน สำหรับประเทศที่มีพัฒนาการที่ดีในการรองรับนักท่องเที่ยวมุสลิม เพื่อสนับสนุนให้ นักท่องเที่ยวไปพื้นที่ดังกล่าวมากขึ้น และได้รับความสะดวกสบายในกิจกรรมทางวัฒนธรรมทางศาสนา เช่น อาหารฮาลาล และ การละหมาด

สถิติการท่องเที่ยวของมุสลิมทั่วโลก , GLOBAL MUSLIM TRAVEL INDEX 2024

สำหรับประเทศไทย นักท่องเที่ยวโดยรวม ไตรมาสแรก  ในปี 2567  มีจำนวนเพิ่มขึ้น จาก 8 ล้านคน เป็น 12 ล้านคน ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นอย่างมาก (จำนวนนี้เป็นนักท่องเที่ยวมุสลิม ถึง 2.2 ล้านคน)  CrescentRating และ  Mastercard จัดให้ประเทศไทย เป็นกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพที่จะดึงดูดลูกค้ามุสลิมจากทั่วโลกได้เพิ่มขึ้น แม้ตลอดช่วงที่ผ่านมา อันดับคะแนนเราจะตกลงทุกปี  จาก อันดับ 2 ลงมาที่อันดับ 5 ของประเทศในกลุ่ม Non OIC   ไม่ใช่เพราะเราด้อยลง แต่เป็นเพราะประเทศเพื่อนบ้าน เช่นไต้หวัน ฮ่องกง หลายประเทศต่างเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับตลาดนี้ แสดงให้เห็นว่ามีความให้ความสำคัญของตลาดท่องเที่ยวมุสลิม

อย่างไรก็ดี จากคะแนนของประเทศไทย ตามกรอบ ACES 3.0 Framework ในรายงาน GLOBAL MUSLIM TRAVEL  INDEX 2024  วิเคราะห์ได้ว่าเรายังมีช่องว่างในการเพิ่มศักยภาพการแข่งของของประเทศไทยได้ เช่นตัวชี้วัด Desitnation Marketing ซึ่งเป็นตัวชี้วัดถึงการทำการตลาดต่อ ความเป็น Muslim Friendlyของประเทศไทย  , Stakeholder Awarness ซึ่งเป็นตัวชี้วัด ด้านความรู้ความเข้าใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ต่อนักเดินทางมุสลิม   , และตัวชี้วัด Communication Proficiancy ซึ่งสะท้อนความพร้อมด้านภาษาที่จำเป็นในโลกของนักท่องเที่ยวมุสลิม   เป็นต้น   ตัวชี้วัดเหล่านี้ แสดงให้เห็นถึง ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น ถ้ามีการเพิ่มจำนวน ผู้ประกอบการที่มีองค์ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับ Muslim Friendly ในประเทศไทย

ตารางคะแนน ตามโมเดล ACES 3.0 , GLOBAL MUSLIM TRAVEL INDEX 2024

นอกจากนักท่องเที่ยวมุสลิมทั่วไปแล้ว  ประเทศไทย ยังเป็นประเทศปลายทางของคู่แต่งงานอิสลาม ทั้งที่เป็นมุสลิมด้วยกันและเป็นการแต่งงาน โดยการเปลี่ยนผ่าน ทางศาสนาอิสลาม โดย พบว่าคู่แต่งงานที่มาประเทศไทย เพื่อแต่งงานอิสลาม โดยเปิดเผยและสุจริต กับบริษัทอารยานิกะห์แพลนเนอร์แอนด์คอนเซาท์ จำกัด นั้น มาจากหลากหลายประเทศ เช่น ไต้หวัน สิงค์โปร์ มาเลยเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ คูเวต ปากีสถาน จีน อเมริกา พม่า กัมพูชา และอื่นๆกับบริษัทจัดงานแต่งงานอิสลามืออาชีพ เนื่องจากประเทศไทย มีบรรยากาศที่อำนวยในการจัดงานแต่งงานอิสลาม และคู่แต่งงานเหล่านี้ เมื่อแต่งงานแล้วมีแนวโน้มที่จะอยู่ท่องเที่ยวในประเทศไทยต่ออย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์ เมื่อรวมเข้ากับ การแต่งงานอิสลามของ มุสลิมในประเทศไทยที่มีอยู่เดิมแล้ว  การแต่งงานอิสลาม ในบรรยากาศพหุวัฒนธรรม รวมทั้งการท่องเที่ยวของมุสลิมจากทั่วโลก เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามและมีความสำคัญ

การแต่งงานอิสลามของชาวฝรั่งเศษ-คนไทย ใช้บริการห้องจัดเลี้ยงที่ผู้ประกอบการไม่ใช่มุสลิม ดูแลโดยบริษัทอารยา

2.ปัญหาในปัจจุบัน

เป็นที่แน่ชัดว่า โอกาสในการรองรับตลาดมุสลิมจากทั่วโลกที่มาเยี่ยนเยียนประเทศไทยนั้นเป็นโอกาสที่สำคัญทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี นักท่องเที่ยวมุสลิมเหล่านี้ มีความต้องการเฉพาะเจาะจงที่แตกต่างจากนักท่องเที่ยวทั่วไป ซึ่งการรองรับตลาดนี้ นั้นผู้ประกอบการจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีความรู้เพิ่มเติม ในการบริหารจัดการ ทั้งการตลาด วิธีการสื่อสารที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมของลูกค้า การให้ข้อมูลลูกค้า การให้บริการ และสินค้า อีกทั้ง นักท่องเที่ยว มุสลิมที่เข้ามาในประเทศไทยแนวโน้มที่จะมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ  ประเทศไม่สามารถพึ่งพาผู้ประกอบการมุสลิมได้เพียงอย่างเดียวในการ ดูแลตลาดนี้ทั้งหมด จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนา ผู้ประกอบการ ที่ไม่ใช่มุสลิมในภาคเอกชน(non-Muslim Entrepreneur)  ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถดูแลลูกค้ากลุ่มนี้ได้ในปัจจุบันและอนาคตต่อไป

อย่างไรก็ดี แต่ด้วยความแตกต่างทางศาสนา และวัฒนธรรม ทำให้ ผู้ประกอบการนอกตลาดมุสลิม (non-Muslim Entrepreneur) เข้าถึง-เข้าใจตลาด ผู้นับถือศาสนาอิสลามได้ยาก ทั้งเรื่องความรู้ และความกังวลเกี่ยวกับศาสนกิจ มีต้นทุนด้านการจัดการ และปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบสูง และด้วยข้อแตกต่างของการจัดการ หรือระบบสินค้าและบริการ นอกจากนี้การเข้าสู่ตลาดมุสลิมอาจต้องสูญเสียตัวตนของกิจการไปทั้งหมด เช่นการรื้อระบบโรงแรมใหม่ทั้งหมด ยกเลิกการขายแอลกอฮอล์ เพื่อรองรับลูกค้ามุสลิม  โดยไม่มีมาตรการรับรองใดๆในการของการเปลี่ยนสู่รูปแบบดังกล่าว ว่ามีลูกค้าเพียงพอหรือไม่

สำหรับมาตราฐานสามารถใช้ได้ในปัจจุบันประเทศไทย มีเฉพาะ มาตราฐาน ฮาลาล ที่ถูกประกาศใช้งาน โดยมาตราฐานของประเทศไทยนี้ พัฒนา มาจากเอกสาร  GENERAL GUIDELINES FOR USE OF THE TERM “HALAL” ซึ่งได้จัดทำขึ้นโดย องค์กรร่วมของ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และองค์การอนามัยโลก (WHO)   โดยต้นฉบับมีรายละเอียดเกี่ยวกับอาหารฮาลาล ที่เป็น Criteria เพียง สองหน้า A4 เท่านั้น ในขณะที่ รายละเอียดการขอการรับรองฮาลาล ในประเทศไทย นั้นมีความซับซ้อนและมีรายจ่ายที่สูง เนื่องด้วยต้องการมาตราฐานสูงสุดในการรับรองฮาลาล อย่างไรก็ดี ไม่ใช่ผู้ประกอบการทั้งหมดที่ต้องใช้ทุกตัวชี้วัดดังกล่าว   ในการดูแลลูกค้ามุสลิม และการใช้ทุกตัวชี้วัดมาตราฐานอาจทำให้ ผู้ประกอบการโดยเฉพาะ กลุ่มผู้ประกอบการนอกตลาดมุสลิม ได้รับผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงการจัดการภายในองค์กร  ความซับซ้อนของตัวชี้วัดดังกล่าว ทำให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ตลาดได้ยาก ส่งผลต่อจำนวนผู้ประกอบการที่มีคุณภาพ  ปัญหานี้เกิดขึ้นหลายภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศญีปุ่น รวมทั้งประเทศไทย

ความแตกต่างทางวัฒนธรรมศาสนา ความรู้สึกกังวลในการให้บริการลูกค้ามุสลิมเพราะ กลัวความผิดพลาดในเรื่องศาสนา เป็นปัญหาที่อยู่ในงานบริการหลายภาคส่วน การแก้ปัญหานี้ จึงจำเป็นต้องใช้กรอบด้านพหุวัฒนธรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง ร่วมกับความรู้ความเข้าใจในประเด็นข้อจำกัดทางศาสนาอิสลามในรูปแบบที่กระชับ เพื่อเชิญชวนให้ผู้ประกอบการที่ไม่ใช่มุสลิมนั้นเข้าสู่ตลาดได้อย่างสบายใจมากขึ้น  การผลักดันโครงการนี้ให้สำเร็จ ความเป็นไปได้หนึ่งนั้นคือ ให้ภาคเอกชนที่มีความหลากหลายและมีศักยภาพมีความรู้ความเข้าใจ เป็นผู้นำขับเคลื่อน โดยรับการสนับสนุนจากภาครัฐ และภาคการศาสนาของประเทศไทยต่อไป โมเดลนี้ทำได้จริง โดยประเทศต้นแบบหนึ่งคือ บริษัทเอกชนใน ประเทศมาเลเซีย

3.ความเป็นไปได้ในการดำเนินการ Muslim Friendly Certificate (MFC) โดยภาคเอกชน

ประเทศมาเลเซีย เป็นหนึ่งในประเทศที่มีบริษัทเอกชน เป็นผู้นำทางด้าน MFC มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2012 บริษัทเอกชน Tripfez Travel เป็นให้บริการจัดเรตติ้งโรงแรมและสถานที่พักที่ Muslim Friendly และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการที่เป็นมิตรต่อมุสลิม และพัฒนาเป็น  ในชื่อ SALAM STANDARD ในปี ค.ศ. 2015  เมื่อบริษัทเติบโตเป็นที่รู้จัก มาตรฐาน SALAM STANDARD  ได้รับการยอมรับและ ได้ รับการสนับสนุนจาก กระทรวงการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมมาเลเซียและศูนย์การท่องเที่ยวอิสลาม  และนำเสนอต่อ COMCEC องค์กรความร่วมมืออิสลาม (OIC) ในปี ค.ศ. 2017 โรงแรมมากกว่า 55,000 แห่งได้รับการรับรอง



กลุ่มโรงแรมที่เข้าร่วมมาตราฐาน Salam Standard ที่พัฒนาโดยบริษัทเอกชน Tripfez Travel  

บริษัทเอกชน CrescentRating ก่อตั้งในปี 2008  เป็นบริษัทเอกชนที่จัดตั้งในสิงค์โปร์ พัฒนาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวฮาลาล และ Muslim Friendly โดยในปี 2015 ได้ร่วมมือกับ MasterCard จัดสร้าง Global Muslim Travel Index ซึงเป็นตัวชี้วัดที่ได้รับความเชื่อถือทั่วโลก มีการร่วมมือกับประเทศต่างๆเช่น กรมการท่องเที่ยวฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น และ อินโดนีเซีย เป็นต้น โดยในปี 2024 ได้พัฒนา RIDA FRAMEWORK สำหรับผู้ประกอบการท่องเที่ยว ที่ต้องการรองรับนักท่องเที่ยวมุสลิม

การให้การรับรองด้าน Muslim Friendly โดยบริษัทเอกชน เกิดขึ้นเป็นปกติในหลากหลายภูมิภาคทั่วโลก ญี่ปุ่น การตรวจสอบและการออกใบรับรองฮาลาลในญี่ปุ่นดำเนินการโดยองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร บริษัทศาสนา บริษัทมหาชน บริษัทเจ้าของคนเดียว ฯลฯ ค่ารับรองฮาลาลในประเทศญี่ปุ่นสูง 300,000 เยน ถึง 2 ล้านเยน ผู้ประกอบการเจอปัญหาต้นทุนการขอฮาลาล และการสูญเสียลูกค้าที่ไม่ใช่มุสลิมเมื่อเปลี่ยนมาเข้าสู่ระบบฮาลาลเต็มรูปแบบเช่นเดียวกับผู้ประกอบการไทย   ผู้ประกอบการญี่ปุ่นจำนวนมากปรับธุรกิจเข้าสู่การเป็น  “Muslim Friendly” แม้ว่าจะไม่ได้รับรองฮาลาล แต่เป็นการแสดงความพยายามอย่างเต็มที่เพื่อจัดหาอาหาร สินค้า และบริการที่ตอบสนองความต้องการของมุสลิม โดยการออก “แผ่นนโยบาย” ที่ระบุว่าพวกเขาสามารถตอบสนองความต้องการฮาลาลได้แค่ไหน หากคุณไปเยี่ยมชมร้านอาหารที่เป็นมิตรกับมุสลิม คุณสามารถดูแผ่นนโยบายได้บนโต๊ะ

สำหรับตัวชี้วัด สำหรับ Muslim Friendly นั้นมีความเรียบง่าย เช่นกรณีของ Salam Standard นั้น เงื่อนไขแรกในการได้ มาตราฐานระดับ Bronze สำหรับโรงแรม คือ  การมีพรมละหมาด เมื่อมีลูกค้าร้องขอ การมีทิศทางบอก ทิศการละหมาดในห้องนอน และ ห้องทุกห้องมีห้องน้ำในตัว  ซึ่งถ้ามีการจัดการให้ความรู้ จะมีโรงแรมจำนวนมากที่ ผ่านมาตราฐานเบื้องต้นนี้ และได้รับ Muslim Friendly Certificate ทั่วประเทศไทย โดยไม่ต้องมีโครงสร้างที่ซับซ้อน การตรวจงานโดยนักการศาสนาที่ชำนาญการแต่อย่างใด


จึงมีความเป็นได้อย่างมากที่ประเทศไทย โดยบริษัทเอกชน ที่ได้รับการสนับสนุนอย่างเหมาะสมจะพัฒนา กรอบ Muslim Friednly ให้เกิดขึ้นในประเทศไทยอย่างกว้างขวาง มีมาตราฐานและใช้งานได้จริง ถ้าได้รับการสนับสนุนที่เหมาะสม จากภาครัฐ และภาคการศาสนาอิสลามของประเทศไทย เพราะ เป็นกิจกรรมที่ ประเทศไทย สังคม ผู้ประกอบการ ผู้ปฏิบัติ ภาคการศาสนาอิสลาม ทุกคนที่เกี่ยวข้องจะได้ประโยชน์ร่วมกันอย่างแท้จริง

3.ประโยชน์ของโครงการในแต่ละมิติที่ต้องให้ความสำคัญ


ผู้พัฒนาโครงการได้ โมเดลที่พัฒนานี้  จะสร้างประโยชน์ให้ ผู้ประกอบการรวมทั้งผู้ปฏิบัติงานทุกศาสนา เพิ่มศักยภาพของประเทศไทยในการรองรับตลาดมุสลิมในบรรยากาศพหุวัฒนธรรม ตัวชี้วัดที่เรียบง่าย และมีมาตราฐาน มีค่าใช้จ่ายในการเข้าสู่ระบบเหมาะสม เพิ่มความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่าง ทุกศาสนาในประเทศไทยต่อศาสนาอิสลาม ประเทศได้รับการจัดอันดับที่ดี ในระดับโลกรวมทั้ง สร้างผลตอบแทนให้กับผู้สนับสนุน  โดยแบ่งเป็นมิติต่างดังต่อไปนี้

⦿ มิติผู้ประกอบการ
ช่วยให้ผู้ประกอบการที่สุจริตในการดูแลลูกค้ามุสลิม ได้รับเครื่องมือ ความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการดูแลลูกค้ามุสลิมจากทั่วโลก อย่างเป็นระบบ ถูกต้องตามหลักศาสนา และเป็นมืออาชีพ โดยไม่กระทบต่อโครงสร้างเดิมขององค์กร และใช้ต้นทุนการจัดการ และการดำเนินการที่ต่ำที่สุด


บริษัทอารยา ให้ความรู้ในการดูแลลูกค้ามุสลิมที่ต้องการจัดงานแต่งงานในประเทศไทย ให้กับผู้ประกอบการ

⦿ มิติทางเศรษฐกิจของประเทศไทย
โมเดลนี้จะต้องทำให้คะแนน GMTI ของประเทศไทย สูงขึ้น มีภาพลักษณ์ที่โดดเด่น และเป็นมิตรต่อตลาดมุสลิม โดยเข้าไปแก้ไขจุดอ่อน และเสริมจุดแข็งในแต่ละส่วนของโครงสร้างเดิม เช่นช่วยให้ผู้ประกอบการสร้างความมั่นใจ และปลอดภัยให้กับลูกค้าผู้หญิงมุสลิม และลูกค้าผู้หญิงจากทั่วโลก เสริมเข้ากับแผนงานเดิมของรัฐบาล และต้องเป็นโมเดลที่ยืนอยู่บนพื้นฐานของพหุวัฒนธรรม

การแต่งงานอิสลามไทย-ไต้หวัน และครอบครัวชาวไต้หวัน เลือก พักผ่อนและเที่ยวอยู่ในประเทศไทยต่อเนื่อง 2 สัปดาห์

⦿มิติทางศาสนาอิสลาม

โมเดลนี้จะต้อง ทำให้ศาสนาอิสลามได้เผยแพร่ให้กับผู้ประกอบการ บุคลากร และ ผู้เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวาง รวดเร็ว และกระจายทั่วประเทศ โดยไม่ใช่การบังคับใจหรือทำให้รู้สึกบังคับใจ แต่เป็นการเปิดใจร่วมมือด้วยดี และเต็มใจของผู้ประกอบการเอง  โดยบริษัทอารยาตั้งเป้าที่จะมีการสร้างห้องละหมาด เพิ่มขึ้นจากโครงการนี้ ไม่น้อยกว่า 100 แห่ง เป็นต้น

ห้องละหมาด และ พื้นที่เอาน้ำละหมาดถูกจัดสร้างขึ้นตามโครงการ Muslim Friendly ของบริษัทอารยา

⦿ มิติต่อกิจการของสำนักงานฮาลาลของประเทศไทย
โมเดลนี้ จะต้อง ช่วย และส่งเสริมต่อยอด เพิ่มจำนวน ผู้ประกอบการที่มีความพร้อมในการเข้าสู่ธุรกิจแบบ Full Halal  ในประเทศไทย ให้มีจำนวนมากขึ้น  และ สนับสนุนให้ผู้ประกอบการเหล่านี้  เข้าสู่การอบรม จดทะเบียนรับรองฮาลาล กับสำนักงานฮาลาล ที่ดำเนินการโดย คณะกรรมการกลางอิสลามของประเทศไทยในลำดับถัดไป

บริษัทอารยาทำงานส่งเสริมใกล้ชิดกับองค์กรศาสนาอิสลาม ในเรื่องการดูแลคู่แต่งงานที่มาจากต่างประเทศในการให้คำแนะนำด้านข้อกฎหมายและอื่นๆ รวมทั้ง การส่งเสริมกิจการฮาลาลของประเทศไทย

⦿ มิติทางสังคมของประเทศไทย
โมเดลนี้จะต้อง ทำให้เกิดบรรยากาศพหุวัฒนธรรม การเข้าอกเข้าใจกัน การให้เกียรติกัน ของทุกๆ ศาสนาที่อยู่ร่วมกันในประเทศไทย ผ่านการจัดการงานศาสนาที่เป็นระบบ

การจัดงานแต่งงานอิสลามของบริษัทอารยา ที่มีส่วนร่วมถูกออกแบบให้มีความเป็นพหุวัฒนธรรมไม่บังคับ ไม่ตัดสินให้เกียรติซึ่งกันและกัน ซึ่งแนวคิดนี้ถูกนำมาออกแบบ โมเดล Muslim Friendly สำหรับผู้ประกอบการทุกศาสนา

บรรยากาศ การดูแลการแต่งงานของมุสลิมไทยเชื้อสายจีน ที่หลอมรวมความเป็นพหุวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน
 

⦿ มิติของประชาชนไทยที่ไม่ใช่มุสลิม
โมเดลนี้จะต้อง ทำให้เกิดโอกาส และสร้างงาน ทั้งในประเทศและต่างประเทศให้กับ ผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม ทั้งชายและหญิง และทำให้เกิดโอกาสในการพัฒนาเรียนรู้ การอยู่ร่วมกันอันดีในสังคมพหุวัฒนธรรมไทย แม้จะมีความแตกต่างทางศาสนา



⦿มิติของประชากรไทยที่เป็นมุสลิม
โมเดลนี้จะต้อง ทำให้สังคมเปิดกว้างขึ้น มีตัวเลือกมากขึ้น ในการใช้บริการ สินค้าและบริการต่างๆในประเทศไทย จากความเข้าใจอันดีของผู้ประกอบการในการดูแลลูกค้ามุสลิม มีตัวเลือกมากขึ้น มีห้องละหมาดให้เข้าถึงมากขึ้น  และ ช่วยส่งเสริม
การอยู่ร่วมกันอันดีในสังคมพหุวัฒนธรรมไทย ระหว่างคนที่เป็นมุสลิมและไม่ใช่มุสลิม

การพัฒนา Muslim Friendly ตามโมเดลของบริษัทจะช่วยทำให้ มุสลิมไทยและต่างประเทศมีตัวเลือกมากขึ้นในการใช้บริการ โรงแรม ห้องจัดเลี้ยง คาเฟ่ หรือร้านอาหารต่างๆในประเทศไทย

⦿ มิติของผู้สนับสนุนโครงการ

โมเดล นี้ต้องทำให้ ผู้มีส่วนร่วมพัฒนาโครงการ ทุกศาสนา  ได้รับเกียรติ ชื่อเสียง เป็นวงกว้าง และได้รับ รายได้จากการทำงานอย่างเหมาะสมตามสมควรเพื่อให้ มีกำลังใจและแรงใจในการพัฒนา กระบวนการต่างๆทางสังคมพหุวัฒนธรรมของประเทศชาติต่อไป

4.การดำเนินการในปัจจุบัน และ การกำหนดเป้าหมาย

ภาคเอกชน พัฒนาระบบและโมเดลเฉพาะ ด้วยตัวเอง ไปพร้อมๆกับการขอการสนับสนุนเพิ่มเติมจาก ภาครัฐและ ภาคศาสนา นักการศาสนา ตั้งแต่การพัฒนาตัวชี้วัด การอบรมที่จำเป็น การออกใบรับรอง การสนับสนุนการตลาด การเชื่อมโยงกับเครือข่ายนักท่องเที่ยว   ในรูปแบบ Muslim Friendly Model โดยมีแกนที่เป็นบรรยากาศพหุวัฒนธรรม เพื่อให้ ผู้ประกอบการที่ไม่ใช่มุสลิมเข้าถึง ได้ง่ายมีค่าใช้จ่ายเหมาะสม

เป้าหมายระยะสั้น


4.1 ความคืบหน้าการดำเนินการในปัจจุบัน

Muslim Freindly Certificate เป็นโครงการที่พัฒนาโดยบริษัทอารยานิกะห์แพลนเนอร์แอนด์คอนเซาท์ จำกัด โดยเริ่มครั้งแรกในปี ค.ศ. 2022  ในชื่อ Nikah Friendly Venue  มีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดหา โรงแรมนอกตลาดมุสลิมเพิ่มเติม ให้กับลูกค้าของบริษัท และช่วยสนับสนุน ผู้ประกอบการ ตั้งแต่การเรียนรู้ การเข้ามาทำตลาดโดยยังรักษาตัวตนของธุรกิจ ทำให้ธุรกิจสามารถ ทำตลาดรองรับทั้งผู้ที่เป็นมุสลิม และไม่ได้เป็นมุสลิมไปพร้อมๆกัน โดยอยู่บนหลักความสุจริต และมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตามหลักการศาสนาอิสลาม   มีการออกใบรับรอง ให้กับองค์กรเอกชน 4 แห่ง พัฒนาห้องละหมาดขึ้นจากโครงการ 2 แห่งช่วยให้ ผู้ประกอบการที่ไม่ใช่มุสลิม และเริ่มรองรับลูกค้ามุสลิมทั้งคนไทยและต่างชาติแล้ว สร้างรายได้เป็นจำนวนมาก และพัฒนาต่อมาเป็นโครงการ  Muslim Freindly Certificate  ในปัจจุบัน

ห้องจัดเลี้ยง นอกตลาดมุสลิม ที่ได้รับ Muslim Friendly จากบริษัทอารยา และสามารถรองรับลูกค้ามุสลิมได้ทันที

ด้วยเครื่องมือการพัฒนาโมเดล โมเดลกระบะทรายการทำตลาดลูกค้ามุสลิมสำหรับผู้ประกอบการ (Muslim Market Sandbox) ควบคู่กับ ให้ความรู้ ความเข้าใจในการปรับตัวเพื่อรองรับลูกค้ามุสลิม การออกใบรับรองเบื้องต้น (Muslim Friendly Certificate) มุ่งให้ผู้ประกอบการเข้าถึงระบบด้วยต้นทุนการเปลี่ยนแปลงที่ต่ำ ลง มีพื้นที่ทดลองเรียนรู้ และปรับตัวก่อนเลือกขยับขยายเข้าสู่การ ทำตลาดมุสลิมเต็มรูปแบบในอนาคต (Full Halal Business Service ) ร่วมกับหน่วยงานต่างๆของรัฐเช่น สถาบันฮาลาล หรืออื่นๆ ต่อไป ด้วยความสมัครใจและมีตลาดรองรับ 

บริษัทอารยา พาผู้ประกอบการ เยี่ยมสุเหร่าในพื้นที่ สร้างความสัมพันธ์ ส่งเสริมวัฒนธรรม ศาสนาในชุมชน

ปัจจุบันบริษัทอารยานิกะห์แพลนเนอร์แอนด์คอนเซาท์ จำกัด อยู่ในระหว่างการพัฒนาโมเดล MuslimFriendly Certificate เพิ่มเติม โดย นำ Framework ต่างๆมาพัฒนาให้เหมาะกับสภาพสังคมไทย เช่น ACES FRAMWORK ,RIDA FRAMWORK ,ATF FRAMWORK และ นำ โมเดลที่พัฒนาโดยบริษัทเองเพื่อดูแลครอบครัวพหุวัฒนธรรม มาพัฒนาต่อยอด ใช้กับผู้ประกอบการที่ไม่ใช่มุสลิมเพื่อให้สามารถปรับตัวได้ในการดำเนินธุรกิจกับลูกค้าที่มีความแตกต่างทางศาสนา โดยโมเดลนี้จะใช้ พหุวัฒนธรรม และ หลักการศาสนาอิสลาม เชื่อมต่อเข้าคู่กัน เพื่อให้เหมาะกับ ผู้ประกอบการ และสังคมไทยที่มีการอยู่ร่วมกันอันดีกับทุกๆศาสนาโดยคำนึงถึงมิติต่างๆทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ และศาสนา เพื่อที่จะได้รับประโยชน์ร่วมกัน  เพื่อให้สามารถใช้งานได้จริงในระดับประเทศต่อไป


บริษัท ทยอยจัดอบรม และ ออกใบรับรองให้ผู้ประกอบการโรงแรม ห้องจัดเลี้ยง และ คาเฟ่ ในกลุ่มผู้ประกอบการที่ไม่ใช่มุสลิม อย่างไรก็ดี การส่งเสริมโครงการนี้ ต้องการได้รับความร่วมมือจากภาครัฐ และ ภาคการศาสนาเพิ่มเติม จึงพัฒนาต่อยอดให้เป็นมาตราฐาน และ จัดทำแผนระยะสั้นและระยะยาวต่อไป

บริษัทอารยา ให้ความรู้ในการดูแลลูกค้ามุสลิมที่ต้องการจัดงานแต่งงานในประเทศไทย ให้กับผู้ประกอบการโรงแรมมุสลิม


แผนงานระยะสั้น

  • จัดทำเอกสารแผนนโยบายและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ในรูปแบบที่เป็นมาตราฐาน
  • พัฒนาโมเดลที่ เพิ่มศักยภาพของประเทศไทย ในตัวชี้วัด ACES ได้มากกว่า 50% ในโมเดลเดียว
  • สร้างเครือข่ายผู้ประกอบการทีมีคุณภาพ เพื่อจัดอบรม ให้ความรู้ และ ให้ใบรับรองในกลุ่มเล็ก
  • ประชาสัมพันธ์ ของความเห็นและขอคำปรึกษา ผู้มีความรู้ความสามารถ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และของ โมเดลที่พัฒนาขึ้น

แผนระยะยาว

  • ประกาศใช้ และรับรอง เป็นวงกว้าง
  • ขยับขยายผลักด้นให้ มาตราฐานนี้ได้รับการยอมรับระดับประเทศและระดับโลก
  • เชื่อมต่อง มาตราฐานนี้เข้ากับตลาดการท่องเที่ยวของโลก
  • จัดอบรมให้ความรู้ประชาชนทั่วไป และผุ้ประกอบการทั่วประเทศไทย

5.ข้อเสนอเพิ่มเติม

  • โมเดล Sandbox นี้จะทำให้เกิด โอกาสอันดี ทั้งโอกาสทางเศรษฐกิจ สังคม การศาสนา และบรรยากาศพหุวัฒนธรรม จะทำให้ผู้ประกอบการจำนวนมากได้มีโอกาสเรียนรู้หลักการของศาสนาอิสลาม และดูแลลูกค้ามุสลิมอย่างเป็นระบบ อย่างไรก็ดี ต้องให้ความสำคัญอย่างมากในการ รักษามาตรฐาน ความเข้าใจที่ถูกต้องตามหลักการศาสนาอิสลาม ไปพร้อมๆกับ ศิลปะการสื่อสารที่ดีต่อ ผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม ต้องคัดกรอง ผู้ประกอบการที่มีความสุจริต ไปพร้อมๆกับการพัฒนา โครงสร้างที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มลูกค้ามุสลิม ในบรรยากาศพหุวัฒนธรรม ทั้งหมดนี้จะทำให้ ประเทศไทย สังคมไทย ผู้ประกอบการ ศาสนาอิสลาม ในบรรยากาศพหุวัฒนธรรม ถึงเป้าหมายดังที่ตั้งใจ

6.สอบถามโครงการ

กรณีต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับกลุ่มหรือบริษัท
ผลงาน ,การดูแลลูกค้าต่างชาติ หลักสูตรฝึกอบรมต่างๆ
หรือ การจัดงานแต่งงานอิสลามในประเทศไทยให้กับลูกค้าต่างชาติ
ในโรงแรม หรือห้องอาหารสี่ถึงห้าดาว  ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่
บริษัท อารยา นิกะห์ แพลนเนอร์ แอนด์ คอนเซาท์ จำกัด
เลขที่ 254/60 ซอย 40 หมู่บ้านสัมมากร ถนนรามคำแหง 112  แขวง/เขต สะพานสูง กรุงเทพฯ 10240 โทร 089-1109419 

ภาคผนวก 

ภาพการ ออกใบรับรองต่างๆและ บรรยากาศ การจัดอบรม การเยี่ยมสุเหร่า การพัฒนาห้องละหมาด ผ่าน โครงการ นำร่องที่ ทดลองดำเนินการโดย บริษัท อารยานิกะห์แพลนเนอร์แอนด์คอนเซาท์ จำกัด ช่วงปี 2565-2567

1.ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับบริษัท

ARAYA NIKAH PLANNER & CONSULT เป็นบริษัท ที่เติบโตมาจากธุรกิจชุดแต่งงานอิสลามซึ่งเป็นกิจการภายในครอบครัว (ค.ศ. 2001 , พ.ศ. 2544) ก่อนพัฒนาต่อเนื่องเป็น Wedding Studio (ค.ศ.2008 ,พ.ศ. 2551) และพัฒนา มาเป็นการให้คำปรึกษา และวางแผนการจัดงานแต่งอิสลามให้กับคนไทยทั้งและต่างประเทศ  รวมทั้ง Wedding Organizer & Nikah Organizer และเป็นรูปแบบบริษัทเต็มตัวในปัจจุบัน (ค.ศ. 2022 , พศ.2565) โดยรวม การให้บริการด้านการให้คำปรึกษาผู้ประกอบการที่ต้องการทำตลาดมุสลิม

บรรยากาศ การดูแลงานแต่งงานอิสลาม ในประเทศไทย

1.1รูปแบบการดำเนินธุรกิจ

1.1.1บุคคลทั่วไป – คู่บ่าวสาวไทยและต่างประเทศ

การดำเนินธุรกิจหลักของบริษัทปัจจุบัน บริษัทมีฐานะเป็นตัวแทนบริหารงบประมาณในการจัดงานนิกะห์ รวมทั้งงานเฉลิมฉลอง ให้กับบ่าวสาวที่บริษัทดูแล รวมทั้งเป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำวางแผน ตลอดจนจัดหา บุคลากร อุปกรณ์ สถานที่ต่างๆ เพื่อการดำเนิน การนิกะห์ หรือการจัดงานแต่งงานอิสลามให้ราบรื่น ตลอดจนออกใบรับรองเกี่ยวข้องตั้งแต่ การเรียนรู้ศาสนาอิสลาม การเข้ารับอิสลาม การแต่งงานอิสลาม ทั้งแบบที่มีผลและไม่มีผลทางกฎหมายให้กับลูกค้าทั้งคนไทยและต่างชาติ ตลอดจนการจัดหาผู้ประกอบพิธีและอื่นๆ

บรรยากาศ การดูแลงานแต่งงานอิสลาม

รวมทั้งบริษัทยังมีให้บริการ ชุดแต่งงานอิสลาม เครื่องแต่งกายอิสลาม และ การให้บริการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานแต่งงานตามรูปแบบ Wedding Studio ให้บริการทั้งหมด ทั้งที่เป็นทางบริษัทดำเนินการเอง และ/หรือจัดหาพาร์ทเนอร์จากภายนอก ที่ได้รับการคัดเลือกอย่างดี และ ผ่านมาตรฐานของทางบริษัท

กลุ่มลูกค้าหลักของบริษัท จะเป็น คู่บ่าวสาวที่มีความแตกต่างทางศาสนาวัฒนธรรม ทั้งระหว่างคนไทยด้วยกัน หรือ คนไทยกับต่างชาติ  คนต่างชาติด้วยกันทั้งสองฝ่ายนอกจากนี้ยังรวมถึง คู่แต่งงานศาสนาอิสลามที่มองหาการจัดงานนิกะห์ หรืองานแต่งงานอิสลามที่เป็นระบบ มีความปลอดภัย เป็นทางการ เป็นระเบียบ และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้มาร่วมงาน ซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง

1.1.2 บริษัทเอกชน องค์กรของรัฐ สถาบันการศึกษา

บริษัทเป็นผู้ให้คำปรึกษา และวางแผนสำหรับห้องจัดเลี้ยงทั้งในและนอกตลาดอิสลาม รวมทั้งให้การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรที่อยู่ในอุตสาหกรรมแต่งงานอิสลาม ในปีที่ ค.ศ. 2022 , พศ.2565 บริษัท อารยา ได้ออกใบ Certificate รับรอง สถานที่จัดงานที่เป็นมิตรกับการแต่งงานอิสลามด้วยกัน สองแห่งรวมทั้งฝึกอบรมและให้ข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้จัดเลี้ยงสามารถที่จะรองรับ และดูแลผู้เข้าร่วมงานที่เป็นมุสลิมได้อย่างมีความเข้าใจ

บริษัทอารยาจัดโครงการ โดยการชวนผุ้ประกอบการเข้าทำความรู้จักตลาดมุสลิมด้วยจัดบูธในสถาบันศาสนาต่างๆ

บริษัทได้พัฒนาหลักสูตร การอบรมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนาอิสลามในบรรยากาศพหุวัฒนธรรม การดูแลลูกค้ามุสลิม การให้บริการอาหารฮาลาล อื่นๆ ให้กับองค์กรเอกชน สถานบันการศึกษา ตลอดจน ธุรกิจในกลุ่มภาพยนต์ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม เพื่อตอบรับตลาดของการของมุสลิมจากทั่วโลกที่เข้ามาสู่ประเทศและ พัฒนาเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการ ลดความขัดแย้งจากความแตกต่างศาสนา ช่วยเรื่องการปรับตัว และ การพัฒนาสินค้า ผลิตภัณฑ์และบริการ ตลอดจนให้คำแนะนำด้านการตลาด ในภาพรวม

บริษัทอารยาจัดกิจกรรม กลุ่มขนาดเล็กตามสถาณประกอบการต่างๆ เพื่อส่งมอบ การดูแลลูกค้ามุสลิมที่มีคุณภาพ

2.กิจกรรมสำคัญ
2.1กิจกรรมสำคัญในปี 2022 (พ.ศ.2565)   ที่ได้จัดดำเนินการแล้วเสร็จ

  • พัฒนาระบบการแต่งงานอิสลาม และกิจกรรมครอบครัว ที่เป็นมิตรกับครอบครัวพหุวัฒนธรรมไทยและต่างประเทศ
  • พัฒนา Whitelist สถานที่จัดงาน ร้านอาหารฮาลาล ที่ผ่านเกณฑ์มาตราฐานของบริษัทอัพเดททุกสามเดือน ให้กับลูกค้าของบริษัท
  • พัฒนาระบบ และออกใบรับรอง Muslim Friendly , Nikah Friendly
    ให้กับ โรงแรม ห้องจัดเลี้ยง ที่บริษัทเข้าไปเป็นลูกค้าโดยตรง เพื่อรองรับลูกค้ามุสลิมจากหลายชาติที่มาใช้บริการบริษัทอารยา
  • พัฒนา ระบบ  Nikah Guardian เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ ความปลอดภัยให้กับ ผู้หญิงไทยที่แต่งงานกับชาวอาหรับ ลดความเสี่ยงหย่าร้าง โดนหลอกค้าบริการ เด็กกำพร้า
  • พัฒนา ระบบ Nikah in Thailand  โดยทำระบบที่เข้าใจง่ายให้กับชาวต่างชาติ ให้ข้อมูลที่ชัดเจนในเว็บไซต์ ในการนิกะห์หรือแต่งงานอิสลามในประเทศไทย โดยแยกและออกแบบกรอบ จัดหมวดการแต่งงานอิสลามประเทศไทยออกเป็นสองแบบ  คือ  การแต่งงานอิสลามที่มีผลทางกฎหมาย(legally nikah) และ การนิกะห์ที่ไม่มีผลทางกฎหมาย(non-legally nikah) ทำให้การนิกะห์ในประเทศไทยเรียบง่ายเป็นขั้นตอนลดความสับสน และ เชื่อมโยงกับการป้องกันผู้หญิงไทยในการเข้าสู่การแต่งงานอิสลาม  โดย ทำงานประสานร่วมกับหน่วยงานศาสนาอิสลามของประเทศไทย 
  • พัฒนา ออกใบรับรองการนิกะห์ แบบไม่มีผลทางกฎหมาย โดยบริษัทอารยา

บริษัทอารยา พัฒนา ระบบ Nikah In Thailand ที่ช่วยสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ ผลกระทบทางกฎหมายของการแต่งงานอิสลามในประเทศไทย ให้กับชาวต่างชาติ

2.2 กิจกรรมสำคัญในปี 2023 (พ.ศ.2566) ที่ได้จัดดำเนินการแล้วเสร็จ

  • พัฒนาเครือข่าย ครูนักการศาสนาอิสลาม สถานที่จัดงาน ที่เป็นมิตรกับบรรยากาศพหุวัฒนธรรม
  • จัดระบบการเข้ารับอิสลามที่บริษัทอารยา
  • ออกใบรับรอง การเข้ารับอิสลามสำหรับคนไทยและต่างชาติ
  • พัฒนา หลักสูตร อบรมก่อนแต่งงานอิสลาม สำหรับ ครอบครัวต่างศาสนา เพื่อช่วยสร้างบรรยากาศอันดีของการอยู่ร่วมกันในครอบครัวที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม และ มีความเข้าใจที่ถูกต้องตามหลักการศาสนาอิสลาม รองรับทั้งคนไทยและต่างชาติ
  • จัด อบรมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนาอิสลาในบรรยากาศพหุวัฒนธรรม การให้บริการอาหารฮาลาล อื่นๆ ให้กับองค์กรเอกชน
  • พัฒนาระบบ การปรึกษาปัญหาครอบครัวอิสลามทางออนไลน์
  • ออกใบรับรอง การจบหลักสูตรการเรียนศาสนาอิสลามของบริษัท
  • พัฒนาระบบเข้ารับอิสลามด้วยตัวเองทางช่องทางออนไลน์
  • พัฒนา วางระบบการหย่าด้วยดี และ การไกล่เกลี่ยที่เป็นระบบ ตามหลักการอิสลาม ให้กับคนไทยและต่างชาติ
  • จัดทำหนังสือ การอบรมก่อนนิกะห์ ที่รวมหลักการศาสนา หลักกฎหมายประเทศไทย จิตวิทยาครอบครัว เพื่อเพิ่มความมั่นคงในครอบครัว

บริษัทอารยา ออกใบรับรอง การแต่งงานอิสลาม การเข้ารับอิสลาม การเรียนรู้อิสลาม ให้กับ ลูกค้าของบริษัท ที่ผ่านเงื่อนไข และหลักสูตร รวมทั้งตัวชี้วัดต่างๆที่บริษัทออกแบบ ให้กับคนไทยและต่างประเทศ

2.3 กิจกรรมสำคัญในปี 2024(พ.ศ.2567)  ที่ได้จัดดำเนินการแล้วเสร็จ

  • จัดตั้งกลุ่ม เครือข่ายผู้ประกอบการ การแต่งงานอิสลามที่มีบรรยากาศเป็นมิตรกับพหุวัฒนธรรม
  • พัฒนา หลักสูตร อบรมก่อนแต่งงานอิสลาม (กูซูร์) สำหรับมุสลิม
  • ออกใบรับรอง การอบรมก่อนนิกะห์ กูซูร์ 
  • พัฒนา Muslim Sandbox Marketing Framework
  • พัฒนาตัวชี้วัด และโมเดล สำหรับ Muslim Friendly ให้กับผู้ประกอบการในประเทศไทย
  • พัฒนา ออกใบรับรอง การเข้ารับอิสลามระบบพี่เลี้ยง
  • ออกใบรับรองการหย่าด้วยดี ให้กับลูกค้าของบริษัท โดยประเทศแรกที่ใช้บริการคือ คูเวต-อุเบกิสสถาน
  • ออกใบรับรอง Muslim Friendly Cafe ให้กับร้านกาแฟ
  • จัดตั้ง สร้างสรรค์ สันติ สถาน พื้นที่แลกเปลี่ยนธรรมในศาสนาอิสลามโดยไม่บังคับใจ ไม่จำกัดความเชื่อ-ไม่เชื่อ ไม่จำกัดศาสนา
  • เปิดการเรียนการสอน ศาสนาอิสลามในบรรยากาศที่เป็นมิตรกับพหุวัฒนธรรม โดยไม่มีค่าใช้จ่ายให้กับเด็กนักเรียน และ ผู้ไม่มีรายได้ประจำ
  • พัฒนาโมดูลระบบการแต่งงานอิสลาม ให้กับ โรงแรม ห้องจัดเลี้ยง ออกาไนซ์เซอร์ทั่วประเทศไทย ที่ต้องการรองรับลูกค้ามุสลิม แต่ไม่มีองค์ความรู้หรือบุคลากร
  • พัฒนาโครงการเพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมการ เพิ่มจำนวน  Muslim Friendly Cafe ,Muslim Friendly Venue ,Muslim Friendly Hotel อื่นๆ ในประเทศไทย

บริษัทอารยาได้รับความไว้วางใจจากผู้ประกอบการในการแต่งตั้งให้เป็น ผู้อำนวยการกลุ่มผู้ประกอบการแต่งงานอิสลามในบรรยากาศพหุวัฒนธรรม

3 .แนวคิดหลักการทำงานของบริษัท

การทำงานของ ARAYA จะมุ่งเน้น การใช้สินค้า บริการ การดำเนินธุรกิจที่สุจริตตามหลักการศาสนาอิสลาม สร้างสภาพแวดล้อม ที่เป็นมิตรกับพหุวัฒนธรรมที่ครอบครัวตั้งแต่ครอบครัว สังคมไทย ภูมิภาคเอเซีย ตลอดให้ความเป็นมิตรนี้ รับรู้ได้ถึงคนจากทุกวัฒนธรรมทุกศาสนา ทุกชาติพันธ์   โดยมุ่งเน้นที่ กิจกรรมพื้นฐานที่สุดของการเริ่มต้นครอบครัวคือการเข้าสู่การแต่งงาน 


การสร้างพื้นที่ปลอดภัยทางจิตใจ เป็นปรัชญาหลักขององค์กร โดยประกอบไปด้วยแนวคิดด้านพหุวัฒนธรรม ความสุจริต หลักการในศาสนาอิสลาม ความเป็นมนุษย์ การไม่ตัดสิน การไม่บังคับใจ การให้ความรู้ ปรัชญาเหล่นี้ เป็นหลักยึดในการทำงานของบริษัทอารยา  เช่น มุมมองต่อ LGBTQ+ ในฐานะมุสลิมนั้น ไม่ควรตัดสิน และไม่มีหน้าที่ตัดสิน เราเพียงให้บริการ ให้ความรู้ความเข้าใจ เมื่อมีการร้องขอ เท่านั้นเป็นตัว นั่นเอง นอกจากนี้ยังคำนึงถึงความสุจริตและความปลอดภัย จึงมีการพัฒนาให้ความรู้ความเข้าใจที่เหมาะสมในการเริ่มต้นชีวิตครอบครัว

บริษัทใช้ Social media เพื่อสร้งความเข้าใจอันดีระหว่างคนทุกศาสนาในประเทศไทยและให้คำแนะนำเรื่องศาสนาอิสลามกับมุสลิม

ปรัชญานี้เองที่เราพบว่าสามารถพัฒนา มาปรับใช้กับ การทำธุรกิจ กับมุสลิมด้วยผู้ประกอบการที่ไม่ใช่มุสลิมได้อย่างเป็นระบบ ทำลายกำแพงความกลัวความกังวลและสร้างพื้นที่ปลอดภัยด้านการให้บริการอย่างเป็ฯมืออาชีพในประเทศไทย เราเชื่อมั่นว่า โมเดล Muslim Friendly ที่พัฒนามาจากหลักสูตรครอบครัวนี้ จะพัฒนาสังคมไทย และเศรษฐกิจไทย รองรับลูกค้ามุสลิมจากทั่วโลกได้อย่างมั่นคงในบรรยากาศที่อบอุ่นและเป็นมิตรกับพหุวัฒนธรรม

ข้อมูลด้านภาษี และการจดทะเบียน และที่อยู่ติดต่อ

Araya Nikah Planner and Consult Co.,Ltd.

บริษัท อารยา นิกะห์ แพลนเนอร์ แอนด์ คอนเซาท์ จำกัด

เลขประจำตัวผู้เสียภาษี   0105565138468

☑จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

☑ลงทะเบียนในระบบ E-TAX

email: arayawedding@gmail.com