การแต่งงานกับ คู่รักที่มีที่มาจากครอบครัวต่างศาสนา อาจทำให้เกิดความกังวลใจบ้าง ทั้งเรื่อง ความกังวลใจว่า ครอบครัวทั้งสองฝ่ายจะเข้ากันได้ไหม? ตัวเราเองจะปรับตัวได้มากน้อยแค่ไหน? และเมื่อว่าที่เจ้าสาวตัดสินใจจริงๆว่าจะแต่งงานกับว่าที่เจ้าบ่าวที่เป็นมุสลิม เราซึ่งเดิมเป็นคนศาสนาพุทธต้องเตรียมตัวอย่างไร วันนี้ ทีมงาน Araya ซึ่งเป็นทีม Nikah Planner จะมาให้คำตอบเรื่องนี้กันครับ

ขั้นตอนการเตรียมตัว เมื่อเจ้าสาวพุทธ ต้องแต่งกับมุสลิม

  • เตรียมความพร้อมตั้งแต่คบหาดูใจ เพื่อเข้าใจในความแตกต่างทางศาสนา
  • ทำความเข้าใจ การขั้นตอนการนิกะห์ หรือการแต่งงานอิสลาม
  • วางแผน การเรียนรู้และการเข้ารับอิสลาม
  • หมั่นสื่อสาร พูดคุยกับคนในครอบครัว
  • วางแผนงานนิกะห์ อย่างเป็นระบบ

1.เตรียมความพร้อม ตั้งแต่คบหาดูใจ เข้าใจความแตกต่างทางศาสนา

การเตรียมความพร้อม ในเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญเรียกได้ว่า อันดับต้นๆของการเตรียมงานแต่งงานอิสลาม หรืองานนิกะห์เลยก็ว่าได้ครับ การนิกะห์ ไม่ใช่เพียงกระบวนการหรือพิธีทางศาสนาเท่านั้น แต่เป็นจุดเริ่มต้นชีวิตคู่หรือ ชีวิตครอบครัวหลังจากนี้ ซึ่งทั้งเจ้าบ่าว และเจ้าสาวต้องร่วมทุกข์ร่วมสุขกันใน “กรอบชีวิตที่ต่างออกไป” ไม่มากก็น้อย มีบางอย่างที่ ต้องปรับเข้าหากัน และมีบางอย่างต้องเพิ่มเติมเพื่อให้ชีวิตคู่สมบูรณ์

ในกรณีเจ้าสาว แต่งเข้าอิสลาม เจ้าบ่าวต้องดูแลให้ดีมากเป็นพิเศษ เพราะ เป็นทั้งทางตัวว่าที่เจ้าสาวและ ครอบครัวว่าที่เจ้าสาวต้องปรับตัวอย่างมาก การเปลี่ยนศาสนา หรือ การที่ลูกสาวเปลี่ยนศาสนาเป็นเรื่องใหญ่นะครับ ต้องให้ความสำคัญ เข้าใจ และให้กำลังใจ ดังนั้นเมื่อรับเข้ามาแล้วต้องดูแลเค้าให้ดี สิ่งที่มักจะทำผิดพลาดกันคือ ฝ่ายมุสลิมมักจะเร่งร้อนในการพยายามเปลี่ยนให้ เจ้าสาวกลายเป็นอีกคนที่ไม่ใช่คนเดิม เพื่อให้เข้ากับทางบ้านของตัวเองได้ อันนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้การนิกะห์เกิดปัญหาตามมาอีกมากมาย ในขั้นตอนนี้ หน้าที่ของเจ้าบ่าวคือ การเข้าใจ ให้กำลังใจและ ปรับตัวไปพร้อมๆกัน เป็นทางออกที่สำคัญมากๆครับผม

ในส่วนของเจ้าสาวในขั้นตอนนี้ต้องเปิดใจเรียนรู้ และทำความเข้าใจ วัฒนธรรมอิสลาม – สังคมอิสลาม ในกรอบของตัวเจ้าบ่าว ครอบครัวเจ้าบ่าว และ สังคมมุสลิมรอบตัวครับ การเปิดใจเรียนรู้ สิ่งเหล่านี้จะทำให้เราปรับตัวง่ายขึ้นมาก และจะทำให้เราเข้าใจว่าจริงๆแล้วสังคมอิสลามไทยนั้นก็เหมือนกับสังคมทั่วๆไปคือ มีทั้ง สังคมส่วนที่ไม่น่ารัก และสังคมส่วนที่น่ารัก และถ้าเจ้าบ่าว ยังอยู่ใน”สังคมที่น่ารัก”อยู่ ก็ต้องเดินหน้ากันต่อไปนั่นเอง

ใครยังติดปัญหาในส่วนนี้ อาจจะลอง อ่าน HOW TO 8 ขั้นตอน คบหาดูใจ กับ คู่รักต่างศาสนา เพิ่มเติมดู ผมเชื่อว่าจะมีเครื่องมือบางอย่างที่จัดการเรื่องนี้ให้เข้าที่เข้าทางอย่างแน่นอนครับ

ภาพบรรยากาศงานนิกะห์ต่อเนื่องจัดเลี้ยง ที่ดูแลโดยทีมงาน ARAYA และวางแผนโดย Nikah Specialist

2.ทำความเข้าใจขั้นตอนนิกะห์ หรือขั้นตอนการแต่งงานอิสลามสำหรับเจ้าสาวพุทธ

เมื่อว่าที่เจ้าสาวผ่านด่านแรกได้แล้ว สิ่งถัดมาคือ ต้องทำความเข้าใจในเบื้องต้นว่า ขั้นตอนการนิกะห์ หรือ เจ้าการแต่งงานอิสลามที่ว่าเนี่ยะ หน้าตาหรือ ขั้นตอนเบื้องต้นเป็นอย่างไร เพื่อให้เข้าใจภาพรวมว่า มันมีหรือไม่มีอะไรบ้างในพิธีทางศาสนานี้ อย่างไรก็ดี ขั้นตอนนิกะห์ในประเทศไทยนั้น มีรายละเอียดแตกต่างกันเล็กน้อย ถึงปานกลาง ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมท้องถิ่นนั้นๆด้วยครับผม แต่จะมีแก่นหลักๆเหมือนกัน สามารถอ่าน รายละเอียดในส่วนนี้ได้ที่นี่นะครับ นิกะห์ คืออะไร? และทำอย่างไร? ฉบับเข้าใจง่าย

ทีนี้จะมีประเด็นถัดมาเรื่อง คุณย่าอยากให้ยกน้ำชา เจ้าสาวอยากตัดเค้ก ทำพิธีสงฆ์ ได้ไหม? ขันหมากจัดได้แค่ไหน? รายละเอียดในส่วนนี้จะเป็นประเด็นที่ค่อนข้างซับซ้อนและไม่มีคำตอบตายตัวครับ ถ้ากำลังจะเริ่มทะเลาะกันกับเจ้าบ่าวในประเด็นตรงนี้ อย่าพึ่งใจร้อนนะครับ มันมีทางออกของปัญหาต่างๆที่ว่ามาอยู่ และไม่ใช่เจ้าสาวหรือเจ้าบ่าวคนเดียวที่ติดปัญหานี้

กรณีติดปัญหาในส่วนนี้สามารถสอบถาม แอดมินได้ครับจะมีบริการในส่วนที่เป็น Nikah Planner อยู่ ซึ่งจะรวมถึงการให้คำแนะนำ และคำตอบของปัญหาข้างต้นและอื่นๆเกี่ยวกับการนิกะห์ทั้งหมดที่รบกวนใจเจ้าสาวและเจ้าบ่าวครับผม

ภาพบรรยากาศงานนิกะห์ต่อเนื่องจัดเลี้ยง ที่ดูแลโดยทีมงาน ARAYA และวางแผนโดย Nikah Specialist

3.เจ้าสาวพุทธ วางแผนการเรียนรู้ และเข้ารับอิสลาม

มาถึงช่วงทำใจยาก และเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของเจ้าสาวพุทธ ที่จะ ทำพิธีนิกะห์ กับเจ้าบ่าวมุสลิมทุกคน ถึงแม้ตัวเจ้าสาวพร้อมจะเปลี่ยนแค่ไหนก็ตาม ก็ยังยากอยู่ดี การเปลี่ยนศาสนาเป็นเรื่องที่ สร้างความเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่าง และหลายๆมิติในชีวิต ทั้งเรื่องของตัวเอง และเรื่องของครอบครัว เรื่องการปรับตัว และการใช้ชีวิต แอดมินและ รุ่นพี่เจ้าสาวทุกคนเป็นกำลังให้กับว่าที่เจ้าสาว คนใหม่ในส่วนนี้นะครับ

อย่างที่ทราบกันดี จากหัวข้อที่แล้วคือ การนิกะห์นั้น มีองค์ประกอบ และองค์ประกอบหนึ่งคือ การที่บ่าวสาว เป็นมุสลิมด้วยกันแล้วทั้งคู่ ไม่ว่าจะเป็นมาแต่เดิมหรือ เปลี่ยนก่อนแต่งงานก็ตาม เมื่อเข้ามาเป็นมุสลิมแล้วก็ถือว่า ครบตามองค์ประกอบที่กล่าวมา

แม้การเปลี่ยนศาสนา เป็นการเปลี่นแปลงสำคัญและ ต้องใช้พลังใจในการขับเคลื่อน แต่การเข้ารับอิสลามในตัวมันเองนั้น กลับไม่ได้ยากอย่างที่เข้าใจ ขั้นตอนการรับอิสลามนั้นง่ายมากกว่า ง่ายจนน่าตกใจด้วยซ้ำไป ลองอ่านบทความนี้ดูครับ การเข้ารับอิสลาม สำหรับมุสลิมใหม่ ฉบับเข้าใจง่าย ขั้นตอนจะเป็นไปตามที่กล่าวมาครับ

อย่างไรก็ดี สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญคือเวลาปรับตัว ในการเรียนรู้ศาสนาอิสลามนั้น ทีมงาน Araya แนะนำว่า ไม่ต้องรีบร้อนไปครับ ค่อยๆเรียนรู้ สิ่งสำคัญคือ ว่าที่เจ้าบ่าวที่เป็นมุสลิมอยู่แล้ว ต้องเรียนไปพร้อมกันด้วย อย่าปล่อยให้น้องเรียนอยู่คนเดียว คำว่า การเรียนดูเหมือนจะเป็นทางการ แต่เป็นการเรียนรู้ทางสังคม ทั้งผ่านการพูดคุย การอ่าน หรือ การสอบถามครูบาอาจารย์เพิ่มเติม หรือแม้แต่เข้าหลักสูตรเต็มรูปแบบ ตรงนี้แล้วแต่ครับ

มีสิ่งที่ต้องระวังพอสมควรอยู่เหมือนกัน อันนี้ แนะนำสำหรับว่าที่เจ้าบ่าวนะครับ การเรียนรู้ศาสนา นั้นต้องไม่เร่งรัด แต่ต้องมีกรอบเวลา การบาลานซ์กันในสองส่วนนี้สำคัญมากๆครับ การให้ว่าที่เจ้าสาวอยู่ในบรรยากาศที่ดี และมีการสอนศาสนาที่เป็นมิตรกับ ผู้สนใจหรือเพื่อนต่างศาสนานิกนั้น จะทำให้ว่าที่เจ้าสาวของเราผ่านตรงส่วนนี้ไปได้ง่ายขึ้น วางแผนในส่วนนี้อย่างระมัดระวังนะครับ และอย่าทำเป็นเรื่องชิวๆเชียวหละ

ภาพบรรยากาศงานนิกะห์ต่อเนื่องจัดเลี้ยง ที่ดูแลโดยทีมงาน ARAYA และวางแผนโดย Nikah Specialist

4.หมั่นสื่อสารกับคนในครอบครัวของเจ้าสาวพุทธ

ผมเชื่อว่าตัวเจ้าสาวพุทธ และตัวเจ้าบ่าวมุสลิมเอง ต้องเจออุปสรรคมากมาย กว่าจะถึงจุดที่ตัดสินใจแต่งงานกัน โดยเฉพาะปัญหาหนึ่งที่เป็นยอดฮิตคือ อุปสรรคจากผู้ใหญ่ในครอบครัว บางคู่เจอเล็กน้อย บางคู่กลายเป็นปัญหาใหญ่โตจนถึงตัดญาติขาดมิตรก็มี ไม่อยากให้กังวลแต่นั้นคือความจริงที่เกิดขึ้น

สิ่งที่มักผิดพลาดคือการหยุดการสื่อสารลงเมื่อเกิดปัญหา และการหยุดการสื่อสารมักจะทำให้ปัญหาจากเดิมเล็กน้อยกลายเป็นบานปลายได้เลยครับ สิ่งที่ควรทำจริงๆ ผมแนะนำว่า ไม่ว่าจะมี ความขัดแย้งอย่างไร เมื่อเข้าสู่กระบวนการจัดเตรียมงานแต่งแล้ว ขอให้รักษาการสื่อสารไว้ ไม่ว่าจะทางวาจา หรือ ทางกาย เช่นการแวะไปเยี่ยมเยียน หรือ ส่งสติกเกอร์ทางไลน์ไว้สม่ำเสมอ โดยไม่ต้องพูดคุยอะไรให้ซับซ้อนก็ได้ครับ

อย่างไรก็ดี ถ้าบ่าวสาวต้องการงานแต่ง ทีมีความหมาย และ มีความสำคัญสร้างสิ่งดีๆในชีวิตคู่จริงๆ ยังมีขั้นตอนที่ต้องจัดเตรียมในส่วนนี้อยู่ทั้งการรับฟังข้อมูลที่สำคัญ(ซึ่งบางครั้งต้องกรองจากอารมณ์ที่ไม่น่าฟัง) การนำข้อมูลเหล่านั้นมาออกแบบลำดับขั้นตอนในงานนิกะห์ ซึ่งจะมีวิธีการฟัง การพูด และสิ่งที่ต้องถาม ซึ่งส่วนนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งของ Workshop หรือ การบ้าน ในบริการ Nikah Planner ซึ่งไม่สามารถเล่าในส่วนนี้ได้หมดนะครับ เพราะค่อนข้างยาว ซับซ้อนและแตกต่างกันออกไปตามแต่ละครอบครัวครับผม

แต่ไม่ว่าอย่างให้ ให้ยึดหลัก การฟัง และรักษาการสื่อสารไว้ ซึ่งเป็นแก่นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของขั้นตอนนี้นั้นเอง

ภาพบรรยากาศงานนิกะห์ต่อเนื่องจัดเลี้ยง ที่ดูแลโดยทีมงาน ARAYA และวางแผนโดย Nikah Specialist

5.เจ้าสาวพุทธต้องวางแผนนิกะห์ อย่างเป็นระบบ

การวางแผนนิกะห์ เป็นระบบสำคัญมาก และปัจจุบันยังเป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทย เพราะที่ผ่านมา เจ้าบ่าวเจ้าสาวส่วนใหญ่ มักจะให้ภาระจัดนิกะห์ เป็นเรื่องของผู้ใหญ่ และสิ่งที่ผู้ใหญ่ทำถัดมาคือ จัดหาอิหม่าม และใช้การจัดงานตามรูบแบบที่เคยจัดกันมา ซึ่งมักจะมีปัญหาซับซ้อนตามมามากมาย โดยเฉพาะกรณีเจออิหม่ามที่ไม่เข้าใจความแตกต่างทางศาสนา

การจัดงานนิกะห์อย่างเป็นระบบ ไม่ใช่เพียงการซื้อแพ็กเก็จแต่งงาน หรือ แพ็กเก็จนิกะห์ แต่มีการบ้าน ที่บ่าวสาวต้องทำร่วมกับ ทีมงานหรือผู้จัดงานหลายๆอย่าง โดยเฉพาะในส่วนการบ้านของตัวบ่าวสาวหรือครอบครัว เช่นการจัดการแขก การจัดการอาหารสำหรับแขก โดยเฉพาะที่ต่างศาสนา เช่นถ้ามีแขกทานเจ จะดูแลอย่างไร การนิกะห์ จะมีขั้นตอนอะไรบ้าง เลี้ยงของว่างตอนไหน คุณพ่อ คุณแม่ คุณย่าฝั่งเจ้าสาวที่เป็นพุทธ ต้องทำอะไรบ้าง เพื่อนจะช่วยในส่วนไหนบ้าง การจัดการสินสอด หรือใครนั่งตรงไหนเวลานิกะห์เป็นต้น ซึ่งถ้าตอบคำถามเหล่านี้ไม่เรียบร้อยก่อนเริ่มงาน ก็จะโกลาหลวุ่นวายในวันงาน นั่นเอง

ปัจจุบัน องค์ความรู้เหล่านี้ ยังไม่มีการจัดระเบียบเป็นระบบที่ชัดเจน ในประเทศไทย ซึ่ง Arayaพยายามพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งระบบที่เป็นการให้คำปรึกษา การรันคิวหรือดูแลวันงาน ระบบการจัดการออนไลน์ หรือแม้แต่ระบบการให้คำปรึกษาต่างๆออนไลน์ กรณีเจ้าสาวเจ้าบ่าวต้องการจัดด้วยตัวเอง การจัดการเหล่านี้ เรียกรวมๆว่า Nikah Planner นั่นเอง

อย่างไรก็ดีกรณีบ่าวสาวจัดการด้วยตัวเอง สิ่งที่ขาดไม่ได้คือการเตรียมความพร้อม และให้ความสำคัญ ผมเชื่ออย่างยิ่งว่า ถ้าเจ้าสาวและเจ้าบ่าว ทำตามขั้นตอนที่แนะนำ 5 ข้อนี้อย่างมั่นคง การจัดงานคู่รักที่มาจากครอบครัวต่างศาสนาจะราบรื่นแน่นอน

ภาพบรรยากาศงานนิกะห์ต่อเนื่องจัดเลี้ยง ที่ดูแลโดยทีมงาน ARAYA และวางแผนโดย Nikah Specialist

สรุปส่งท้าย

เจ้าสาวพุทธแต่งกับอิสลาม เป็นทั้งเรื่องที่ยากและง่าย แต่สิ่งหนึ่งที่ทีมงานยืนยันได้อย่างแน่นอนถ้าทำได้ถูกขั้นตอน งานแต่งงานอิสลามของคุณจะราบรื่น สำคัญที่สุดคือ คุณไม่ได้ตัวคนเดียว เมื่อไหร่ที่ท้อ คลิกเว็บไซต์ ของทางทีมงาน ภาพบ่าวสาวทุกคู่ที่อยู่ในนี้ คือคู่รักต่างศาสนาเหมือนกับคุณ ทีมงาน Araya Nikah Planner เป็นกำลังใจให้กับเจ้าสาวพุทธ ที่แต่งกับ อิสลามทุกคู่ และหวังว่าจะเจอกันคิวถัดไปนะครับ ยินดีให้บริการมากครับผม

Email : arayawedding@gmail.com

FB  arayawedding
LineID  yaoharee.lahtee
ig   arayawedding_studio 


Yaoharee Lahtee

Yaoharee Lahtee

known to be the Thai-Muslim cross religion marriage wedding specialist , Owner of ArayaweddingPlanner.com , Thailand Line id : yaoharee.lahtee Tel: 089-1109419

2 Comments

ข้ามวัฒนธรรมไม่โดดเดี่ยว (ARAYA CROSS CULTURE ECOSYSYTEM) - ArayaWeddingPlanner แต่งงานอิสลาม · 02/01/2023 at 10:51 am

[…] 1.การเตรียมความพร้อมตั้งแต่เริ่มคบหาดูใจให้บ่าวสาวมีความเข้าใจที่ถูกต้องระหว่างกัน ความคาดหวังที่ถูกต้องระหว่างกัน ไม่ทำสิ่งผิดพลาดระหว่างกันในเรื่องการข้ามวัฒนธรรมจนทำลายความสัมพันธ์ที่กำลังเบ่งบาน อ่านบทความ เจ้าสาวพุทธ แต่งกับอิสลามต้องเตรีย… […]

Comments are closed.